• วิสัยทัศน์
  • VISION

“มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะและเป็นสถาบันหลักที่บูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงให้ประเทศ”

  • พันธกิจ
  • MISSION
  • null

    ผลิตบัณฑิต

    ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดี เป็นพลเมืองดีในสังคม และมีสมรรถนะความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

  • null

    วิจัย

    วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับมุ่นเน้นการบูรณาการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

  • null

    พัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพ

    พัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนโดยถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีแบะน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ

  • null

    สร้างเครือข่ายความร่วมมือ

    สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและเสริมสร้างความเข้มเเข็งของผู้นำชุมชนให้มีคุณธรรม และความสามารถในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

  • null

    บริหารจัดการทรัพยากรภายใน

    บริหารจัดการทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาลพร้อมรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

แผนยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

เป้าหมาย

ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านสังคม  และด้านการศึกษา

 

โครงการหลัก

  • โครงการจัดทำฐานข้อมูล (Big Data) ของพื้นที่บริการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทและศักยภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • โครงการติดอาวุธทางปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
  • โครงการส่งเสริมสุขภาวะชุมชนเพื่อวัดดัชนีความสุขมวลรวมชุมชน

กลยุทธ์

  1. สร้างและพัฒนาความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดในการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ และดำเนินโครงการตามพันธกิจและศักยภาพของมหาวิทยาลัย
  2. บูรณาการความร่วมมือภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย (ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม) ในการดำเนินโครงการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญ
  3. บูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์ กับการพัฒนาท้องถิ่น

ตัวชี้วัด

  1. มีฐานข้อมูลของพื้นที่บริการ (ศักยภาพชุมชน สภาพปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของชุมชน) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์  ประเมินและวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ตามศักยภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  2. จำนวนหมู่บ้าน/โรงเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินโครงการ จากผลการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่
  3. ร้อยละสะสมของจำนวนหมู่บ้านที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าดำเนินโครงการพัฒนา เปรียบเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดในพื้นที่บริการ (การกระจายตัวเชิงพื้นที่)
  4. จำนวนโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏและจำนวนโครงการฯ สะสม(แยกประเภทตามเป้าหมาย)
  5. จำนวนภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม  ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินโครงการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่บริการ
  6. อัตราส่วนโครงการพัฒนาท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นแกนนำ เปรียบเทียบกับโครงการพัฒนาท้องถิ่นทั้งหมดของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  7. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวกับการนำพระราโชบายด้านการศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ทั้ง 4 ประการ สู่การปฏิบัติในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  8. อัตราการอ่านออกเขียนได้ของจำนวนประชากรโดยเฉพาะประชากรในวัยประถมศึกษาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  9. ร้อยละของหมู่บ้านที่มีดัชนีชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนเพิ่มขึ้น
  10. อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ครัวเรือนในพื้นที่การพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  11. มีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เพื่อสร้างคุณค่าและสำนึกรักษ์ท้องถิ่น
  12. จำนวนวิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการใหม่ในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ประสบความสำเร็จจากการสนับสนุนองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  13. อัตราอพยพของประชากรวัยทำงานในท้องถิ่นลดลง

เป้าหมาย

มีอัตลักษณ์และสมรรถนะเป็นเลิศ คุณลักษณะ 4 ประการ และเข้าสู่วิชาชีพ ได้รับการเสริมสมรรถนะเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

โครงการหลัก

  1. โครงการผลิตครูเป็นเลิศเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในระบบปิด
  2. โครงการสนับสนุน DLTV เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก
  3. โครงการจัดทำคลังข้อสอบวัดแววความเป็นครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  4. โครงการจัดทำ Platform เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบัณฑิตครูจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าสู่วิชาชีพ
  5. โครงการพัฒนาโรงเรียนสาธิตให้เป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติการและการวิจัย เป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนในท้องถิ่น

กลยุทธ์

  1. ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์และกระบวนการผลิตให้มีสมรรถนะเป็นเลิศ เป็นที่ยอมรับด้วย School Integrated Learning และสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
  2. พัฒนาสมรรถนะครูของครูให้มีความเป็นมืออาชีพ
  3. บ่มเพาะนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพพร้อมด้วยจิตวิญญาณความเป็นครูและคุณลักษณะ 4 ประการ
  4. ยกระดับสมรรถนะครูประจำการ โดยเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ และบ่มเพาะสมรรถนะใหม่ให้สอดรับกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
  5. สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับบัณฑิตครูจากมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เข้าสู่วิชาชีพ

ตัวชี้วัด

  1. มีการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์และกระบวนการผลิตครูเพื่อให้บัณฑิตครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏมีอัตลักษณ์ สมรรถนะและคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ พร้อมด้วยคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามพระราโชบายด้านการศึกษาและคุณลักษณะครูศตวรรษที่ 21
  2. มี Platform เพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบัณฑิตครูมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เข้าสู่วิชาชีพ
  3. ร้อยละครูของครูที่มีประสบการณ์สอนในโรงเรียนต่อปีการศึกษา
  4. ร้อยละของบัณฑิตครูที่จบจากมหาวิทยาลัยราชภัฏที่สอบบรรจุผ่านเกณฑ์ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนภายในเวลา 1 ปี
  5. ผลคะแนน O-NET หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาสมรรถนะครูประจำการของมหาวิทยาลัย
  6. สัดส่วนบัณฑิตครูที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานในภูมิภาค
  7. ผลงานการวิจัยเฉพาะสาขาวิชาชีพครูที่ได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิตและพัฒนาครูเพิ่มขึ้น

เป้าหมาย

ความเป็นเลิศในการสร้างความมั่นคง เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต เป็นมืออาชีพ

โครงการหลัก

  1. โครงการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมราชภัฏเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
  2. โครงการพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายสถานประกอบการและองค์กรวิชาชีพเพื่อจัดการเรียนรู้
  3. โครงการบ่มเพาะให้บัณฑิตมีทักษะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ภายใต้บริบทของการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

กลยุทธ์

  1. ปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้ทันสมัยและพัฒนาหลักสูตรใหม่ในรูปแบบสหวิทยาการที่ตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการประเทศ
  2. พัฒนาศักยภาพผู้สอนให้เป็นมืออาชีพ
  3. พัฒนาห้องปฏิบัติการ/อุปกรณ์การเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการผลิตบัณฑิต
  4. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้บูรณาการกับการทำงาน และเสริมสร้างทักษะและจิตสำนึกในการพัฒนาท้องถิ่น
  5. ผลิตบัณฑิตได้ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ทั้งด้านสมรรถนะ วิชาชีพ ทักษะบัณฑิตศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะ 4 ประการ

ตัวชี้วัด

  1. จำนวนหลักสูตรที่ปรับปรุงให้ทันสมัยและหลักสูตรใหม่ในรูปแบบสหวิทยาการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
  2. ผลงานของนักศึกษา/อาจารย์ที่ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่หรือได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติ
  3. ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับประกาศนัยบัตรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สำเร็จการศึกษา
  4. ระดับความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีตามมาตรฐาน CEFR ( Common European Framework of Reference for Languages ) หรือเทียบเท่ามาตรฐานสากลอื่นๆ
  5. อัตราการได้ทำงาน/ทำงานตรงสาขา/ประกอบอาชีพอิสระทั้งตามภูมิลำเนาและนอกภูมิลำเนา ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภายในระยะเวลา 1 ปี
  6. ผลการประเมินสมรรถนะของบัณฑิตโดยสถานประกอบการผู้ใช้บัณฑิต
  7. อัตราการศึกษาต่อในพื้นที่ของประชากรวัยอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น

เป้าหมาย

การยอมรับระดับชาติและนานชาติ ระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัว

โครงการหลัก

  1. โครงการส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรสู่ความเป็นเลิศ
  2. โครงการ “ราชภัฏโพลล์” (รอคำจำกัดความที่แน่ชัด ต้องมุ่งเน้นการเป็นที่พึ่งของท้องถิ่น)
  3. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ
  4. โครงการเครือข่ายสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
  5. โครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อมและการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์

  1. ส่งเสริมบุคลากรที่เป็นคนดีและคนเก่งให้พัฒนาและแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ และศักยภาพเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยและท้องถิ่นอย่างเต็มที่
  2. เพิ่มบทบาทการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่น และการสร้างผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา
  3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายในและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  4. ปรับปรุง/พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยเฉพาะด้านฐานข้อมูลงบประมาณและบุคลากรให้ทันสมัยรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล

ตัวชี้วัด

  1. จำนวนอาจารย์และนักศึกษา ศิษย์เก่า ที่ได้รับรางวัลระดับชาติ/นานาชาติ
  2. อัตราส่วนจำนวนผลงานวิจัยและองค์ความรู้ต่างๆที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาต่อจำนวนผลงานดังกล่าวที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
  3. ผลการสำรวจการรับรู้ข่าวสาร (เช่น นโยบาย/แผนพัฒนาต่างๆ ที่สำคัญ๘ระดับชาติ/จังหวัด/องค์กร) ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
  4. จำนวนฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการในการตัดสินใจตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
  5. ระดับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส การบริหารงานภาครัฐอยู่ในระดับสูงหรือสูงมาก
  6. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายในและต่างประเทศ
  7. มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างน้อย 5 ระบบ
  8. มีฐานข้อมูลศิษย์เก่าและจัดกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อขยายเครือข่ายและปรับปรุงฐานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
  9. ผลสำรวจความคิดเห็น/ความพึงพอใจของประชาชน/ผู้รับบริการที่มีต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • null

    ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579)

    ทบทวนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561