- วิสัยทัศน์
- VISION
“มหาวิทยาลัยต้นแบบแห่งการผลิตครู พัฒนาศักยภาพมนุษย์ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
- พันธกิจ
- MISSION
ยกระดับการผลิตครู และพัฒนาศักยภาพมนุษย์
ยกระดับการผลิตครูและพัฒนาศักยภาพมนุษย์โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive Learning) สร้างเครือข่ายความร่วมมือตามรูปแบบประชารัฐเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม
พัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น และเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของท้องถิ่น
ประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย
ประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อขยายผลการปฏิบัติไปสู่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
ส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รณรงค์สร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรม
ส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รณรงค์สร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้ต่างวัฒนธรรม อนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม พัฒนาระบบการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมที่นำไปต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ
พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ มีธรรมาภิบาลเพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ : (GOAL)
บัณฑิตมีคุณภาพมาตรฐาน มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีศักยภาพสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
วิจัยและนวัตกรรมสามารถแก้ไขปัญหาหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนของประเทศ
ประชาชนสามารถดำรงชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งประชาชนมีความสุข และมีรายได้เพิ่มขึ้น
บัณฑิต และผู้มีส่วนได้เสียมีคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จิตสำนึกที่ดีต่อสังคมโดยรวม รักษามรดกทางวัฒนธรรมและเข้าใจในสังคมพหุวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยมีคุณภาพ มาตรฐาน โปร่งใส และธรรมาภิบาลตอบสนองต่อความต้องการประเทศ และเป็นที่ยอมรับต่อประชาชน
ยุทธศาสตร์ : (STRATEGY)
การผลิตบัณฑิตโดยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive Learning) สร้างเครือข่ายความร่วมมือตามรูปแบบประชารัฐเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่น โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น
การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รณรงค์สร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้ต่างวัฒนธรรม อนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม พัมนาระบบการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ มีธรรมาภิบาล
แผนยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)
- ระยะที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564
- ระยะที่ 2 พ.ศ. 2565 - 2569
- ระยะที่ 3 พ.ศ. 2570 - 2574
- ระยะที่ 4 พ.ศ. 2575 - 2579
“5 ปีเริ่มต้นของการพัฒนา การวางระบบและปรับโครงสร้างองค์การในทุกมิติ การสร้างความร่วมมือ และเริ่มต้นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
กลยุทธ์
มุ่งพัฒนาศักยภาพและยกระดับฐานทรัพยากรเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ ออกแบบ วางระบบและการปรับปรุงโครงสร้างทั้งทางกายภาพและการบริหารของมหาวิทยาลัยในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริการวิชาการ รวมทั้งการบริหารจัดการภายในเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน และรองรับการพัฒนาในอนาคต ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาเครือข่าย เพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
เป้าหมาย
- พัฒนาระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยฐานข้อมูล ศักยภาพนักวิจัย และสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายอย่างเป็นองค์รวม
- พัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยและท้องถิ่น ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- อนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
- การเป็นมหาวิทยาลัยที่ทันสมัยภายใต้การบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่โปร่งใสและยั่งยืน
ตัวชี้วัด
- จำนวนผลงานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่หรืออ้างอิง หรือใช้ประโยชน์ เชิงพาณิชย์ ในระดับชาติ หรือนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 100 ผลงาน
- ร้อยละของบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีงานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระใน 1 ปี ร้อยละ 80
- จำนวนผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่หรืออ้างอิง หรือใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในระดับชาติ หรือนานาชาติ หรือมีผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ไม่น้อยกว่า 2,000 ผลงาน
- จำนวนเงินทุนสนับสนุนวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่าย ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท
- จำนวนชุดโครงการวิจัยรับใช้สังคมที่เกิดจากความร่วมมือองค์กรภาคีเครือข่าย ไม่น้อยกว่า 5 ชุดโครงการ
- จำนวนชุมชนที่มีศักยภาพในการจัดการตนเอง ไม่น้อยกว่า 15 ชุมชน
- มหาวิทยาลัยมีการเปิดการบรรยายสาธารณะ (Public Lecture) เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้เข้ามาฟังแนวความคิดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจนได้รับการ ยกย่องจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน อย่างน้อย 10 หน่วยงาน
- จำนวนผลงานอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการเผยแพร่ ในระดับชาติ หรือนานาชาติ ไม่น้อยกว่า 50 ผลงาน
- ได้รับการจัดอันดับไม่เกิน อันดับที่ 15 เมื่อเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยในกลุ่มราชภัฏ
- สัดส่วนงบประมาณแผ่นดินต่องบประมาณรายได้ เท่ากับ 60:40
- มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับความโปร่งใสที่ดีขึ้น อย่างน้อย 5 ลำดับ
- ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อมหาวิทยาลัยในทุกมิติ ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 4.00
“พัฒนามหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด เปิดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างไร้ขอบเขต เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถบริหารตนเองได้”
กลยุทธ์
ทบทวนผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 ประยุกต์พันธกิจของมหาวิทยาลัยสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยในระยะที่ 2 โดยมุ่งสู่การเป็นองค์การบริหารตนเอง (Self Organization) มีการจัดการความรู้อย่างเหมาะสมและมีวัฒนธรรมของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างไร้ขอบเขต โดยไม่จำกัดแหล่งความรู้ที่อยู่แค่เพียงภายในมหาวิทยาลัยเน้น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับท้องถิ่นและชุมชน การพัฒนาความเป็นเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง พัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับและพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน และท้ายที่สุดมหาวิทยาลัยจะมีการพัฒนาแนวทางสู่การเป็นบริษัทที่มีรายได้เพื่อกิจการทางการศึกษาและการบริการสาธารณะ
เป้าหมาย
- การเป็นองค์การบริหารตนเองของมหาวิทยาลัย
- การเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างไม่มีขอบเขต
- ความร่วมมือที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับท้องถิ่นและชุมชน
- เครือข่ายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- แนวทางสู่การเป็นบริษัทที่มีรายได้เพื่อกิจการทางการศึกษาและการบริการสาธารณะ
- การเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับและพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน
ตัวชี้วัด
- ระดับประสิทธิผลของการเป็นองค์กรบริหารตนเองของมหาวิทยาลัย ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50
- ร้อยละของการเรียนการสอนที่ใช้ชุมชน ท้องถิ่น สถานประกอบการหรือสถานที่จริงเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 ของหลักสูตรทั้งหมดในมหาวิทยาลัย
- ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาที่สามารถเลือกศึกษาในแต่ละรายวิชาในแต่ละหลักสูตรได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ (Shopping study) เพื่อให้เกิดทักษะที่หลากหลาย (Multi-skills) อย่างน้อยร้อยละ 5
- ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าไปศึกษายังมหาวิทยาลัยเครือข่าย หรือเลือกรายวิชาเรียนเอง ได้อย่างเสรี เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี
- จำนวนทีมงานที่มีความหลากหลายของสายอาชีพที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความร่วมมือ อย่างน้อยปีละ 5 ทีมงาน
- ร้อยละของเครือข่ายเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อย่างน้อยร้อยละ 10 และ 5 ต่อปีตามลำดับ
- ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี
- ร้อยละของนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ องค์ความรู้ ที่เกิดจากการงานวิชาการที่รับใช้สังคมเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี
- จำนวนเครือข่ายจากทุกภาคส่วนตอบรับที่จะเข้าร่วมสู่การเป็นบริษัทที่มีรายได้เพื่อกิจการทางการศึกษาและการบริการสาธารณะอย่างน้อย 30 แห่งที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาคในประเทศ
- มีแผนงานทั้งในรูปของการเป็นหุ้นส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (Public Private and Civil Society Partnership) ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) และกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อตอบสนองต่อกิจกรรมทางการศึกษา และการบริการสาธารณะของมหาวิทยาลัย
- ได้รับการจัดอันดับไม่เกินอันดับที่ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยในกลุ่มราชภัฏ
- วิทยาเขตที่จังหวัดสระแก้วได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นศูนย์การศึกษาที่มีศักยภาพ ในการรองรับนักศึกษาโดยมีนักศึกษาต่างชาติจากประเทศในกลุ่มอินโดจีนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20
“พัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นบรรษัทภิบาลเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม ผู้เรียนสามารถสร้างรายได้ระหว่างการศึกษา สร้างการเป็นหุ้นส่วนร่วมที่เข้มแข็งระหว่างมหาวิทยาลัย องค์การภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และคงความเป็นมหาวิทยาลัยบริหารตนเอง”
กลยุทธ์
การเป็นหุ้นส่วนการเรียนรู้ทางสังคมและเศรษฐกิจร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการพัฒนามหาวิทยาลัย ชุมชน และสังคมในทุกมิติภายใต้หลักการของการเป็นบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับภายใต้บริบทของการพัฒนาท้องถิ่น นักศึกษาสามารถสร้างงานและสร้างรายได้ในระหว่างที่ทำการศึกษา และท้ายที่สุด คือ มุ่งสู่การ เป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับประเทศที่คงความเป็นมหาวิทยาลัย บริหารตนเองที่มีความเข้มแข็ง
เป้าหมาย
- การเป็นหุ้นส่วนการเรียนรู้ทางสังคมและเศรษฐกิจร่วมกับภาคีเครือข่ายในทุกมิติภายใต้หลักการของการเป็นบรรษัทภิบาล
- การมีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในบริบทของมหาวิทยาลัยที่มุ่งพัฒนาท้องถิ่น
- นักศึกษามีงานทำ มีรายได้ในระหว่างที่ศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษามีสถานประกอบการรองรับโดยไม่ต้องเข้าแข่งขันกับผู้แข่งขันรายอื่น
- การเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับประเทศ
- คงความเป็นมหาวิทยาลัยบริหารตนเองที่มีความเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด
- ร้อยละของการเรียนการสอนที่ใช้ชุมชน ท้องถิ่น สถานประกอบการหรือสถานที่จริงเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 70 ของหลักสูตรทั้งหมดในมหาวิทยาลัย
- ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าไปศึกษายังมหาวิทยาลัยเครือข่าย หรือเลือกรายวิชาเรียนเองได้อย่างเสรี เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 ต่อปี
- ร้อยละของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่นักศึกษาสนใจจะศึกษาแต่ไม่เปิดสอน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
- ร้อยละของนักศึกษาที่สามารถเลือกศึกษาในแต่ละรายวิชาในแต่ละหลักสูตรได้ตาม ความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ (Shopping study) เพื่อให้เกิดทักษะแบบ (Multi-skills) อย่างน้อยร้อยละ 10
- ได้รับรางวัลอย่างน้อย 1 รางวัลในฐานะของการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในระดับอาเซียน
- ได้รับการจัดอันดับไม่เกินอันดับที่ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยทุกประเภทในประเทศไทย
- ร้อยละของนักศึกษาที่มีงานทำและมีรายได้ในระหว่างการศึกษาโดยการสนับสนุน ของมหาวิทยาลัย อย่างน้อยร้อยละ 50
- ร้อยละของนักศึกษาที่ไปทำงานในบริษัทข้ามชาติ องค์การระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศหรือบริษัทอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียนหรือภูมิภาคอื่นๆ ของโลกอย่างน้อยร้อยละ 10
- มหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยต้นแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย
- ระดับประสิทธิผลของการเป็นองค์การบริหารตนเองของมหาวิทยาลัย ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 00
“มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
กลยุทธ์
มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่บริหารและพึ่งพาตนเองอย่างสมบูรณ์ สามารถพัฒนาและตอบโจทย์ในประเด็นท้าทายของประเทศและสังคมโลก ตลอดจนเป็นมหาวิทยาลัยที่ยังคงอยู่และอยู่รอดภายใต้กระแสของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ผันผวน ซับซ้อน และโกลาหลจากสิ่งคุกคามที่คาดเดาได้ยาก ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ต้องดำรงไว้ซึ่งปรัชญาในการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะในมิติของท้องถิ่นและชุมชน และเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
เป้าหมาย
- เป็นมหาวิทยาลัยที่บริหารและพึ่งพาตนเองอย่างสมบูรณ์ และคงความอยู่รอดภายใต้การเปลี่ยนแปลง
- เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะในมิติของท้องถิ่นและชุมชน
- ได้รับการยอมรับในระดับสากล
ตัวชี้วัด
- ระดับประสิทธิผลของการเป็นมหาวิทยาลัยที่บริหารและพึ่งพาตนเองอย่างสมบูรณ์ ค่าเฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 4.50 โดยพิจารณาจากประเด็น ดังนี้
- มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ไม่ถูกครอบงำจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือบังคับด้วยกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือสิ่งอื่นใด
- สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้น
- ส่วนย่อยต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือหลักสูตรสามารถเลี้ยงตัวเอง อยู่รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหน่วยงานที่เหนือกว่า
- หน่วยงานต่างๆ สามารถปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลได้เองโดยไม่ต้องอาศัยหน่วยงานอื่นที่เหนือกว่าเข้ามากำกับดูแล
- สามารถควบคุมกันเองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้นำเข้ามากำกับดูแล
- สามารถทำงานทดแทนกันได้ แม้ว่าหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะไม่สามารถทำงานได้ชั่วขณะ หรือถาวร
- มีลักษณะเป็นองค์การทางวิชาการที่ปฏิบัติหน้าที่ได้หลากหลาย (Multifunction organization)
- การตัดสินใจทั้งในการบริหารหรือดำเนินการต่างๆ ตั้งอยู่บนการตัดสินใจแบบมีเหตุผลและมีเหตุผลอย่างจำกัด
- การเรียนรู้และการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์การทั้งในระดับใหญ่และระดับย่อยต้องมีการเปลี่ยนจากการคิดการตัดสินใจแบบวงจรเดียว (Single loop) เป็นการคิดการตัดสินใจแบบสองวงจร (double loop learning) พนักงาน เจ้าหน้าที่ในทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การดำเนินงาน การบริหารจัดการกิจการของมหาวิทยาลัย
- ศาสตร์ต่างๆ ในมหาวิทยาลัยถูกนำมาบูรณาการและพัฒนาร่วมกัน
- มีความสามารถในการจัดการภายใต้ภาวะโกลาหล (chaos situation)
- การบริหารจัดการที่เน้นความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ (situation contingency)
- เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอันดับ 1 ใน 5 ของมหาวิทยาลัยต้นแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย
- มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลอย่างน้อย 1 รางวัลต่อปีในฐานะของการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในระดับชาติ
- มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลอย่างน้อย 1 รางวัลต่อปีในฐานะของการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในระดับอาเซียน