ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงมีพระเมตตาต่อการศึกษา ของกุลสตรีไทย จึงประทานอาคารพร้อมที่ดินประมาณ 4 ไร่ ให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2475 ปัจจุบันคือ เลขที่ 153 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยย้ายนักเรียนฝึกหัดครูและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.7-8) มาจากโรงเรียนเบญจมราชาลัย อาจารย์ใหญ่คนแรกคือ อาจารย์นิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์ โรงเรียนใช้ชื่อย่อว่า พ เป็นสัญลักษณ์ และสีเขียว เป็นสีประจำโรงเรียนเนื่องจากเป็นสีประจำวันประสูติของพระองค์ สถานศึกษาแห่งนี้ได้ปฏิบัติภารกิจด้านการศึกษาทั้งแผนกฝึกหัดครู และแผนกสามัญด้วยดีตลอดมา และได้มีการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยมีเหตุการณ์สำคัญ ดังนี้

  • พ.ศ. 2475 องค์ประทานกำเนิดโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์
  • พ.ศ. 2475 ราชกิจจานุเบกษาตั้งชื่อโรงเรียนฝึกหัดครูหญิง “โรงเรียนฝึกหัดครูเพ็ชรบุรีวิทยาลงกรณ์”
  • พ.ศ. 2475-2480 อาจารย์นิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์ อาจารย์ใหญ่คนแรก โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์”
  • พ.ศ. 2475 “พ” อักษรย่อโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ บนพื้นสีเขียว
  • พ.ศ. 2513 สถาปนาขึ้นเป็น “วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์”
  • พ.ศ. 2517 รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ เสด็จเปิดพระอนุสาวรีย์
  • พ.ศ. 2535 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสถาบันเป็น “สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์”
  • พ.ศ. 2538 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ ตราพระราชลัญจกร
  • พ.ศ. 2546 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์”
  • พ.ศ. 2547 ยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์”
  • พ.ศ. 2559 7 รอบนักษัตรแห่งการสถาปนาสถาบัน
  • พ.ศ. 2561 สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • พ.ศ. 2565 ครบรอบ 90 ปี การสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏ
  • พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน มหาวิทยาลัยของคนทุกช่วงวัย

วิสัยทัศน์

มหาวิทยาลัยแห่งความร่วมมือที่ขับเคลื่อนด้วยศาสตร์พระราชาสู่คลังปัญญาเพื่อการพัฒนาการศึกษา ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน

ปรัชญา

วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำท้องถิ่นพัฒนา ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี

 

ปณิธาน

เสริมพลัง สร้างความเข้มเเข็ง และมั่งคั่งของชุมชน

 

อัตลักษณ์

บัณฑิตที่มีจิตอาสา ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ และมีคุณลักษณะ 4 ประการ ได้แก่

1. มีทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อบ้านเมือง

2. พื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มเเข็ง-มีคุณธรรม

3. มีงานทำ-มีอาชีพ

4. เป็นพลเมืองดี-มีระเบียบวินัย

 

อัตลักษณ์

มหาวิทยาลัยแห่งคลังปัญญาที่ขับเคลื่อนด้วยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

ค่านิยม

V : Visionary เป็นผู้รอบรู้

R : Responsibility ทำงานด้วยความรับผิดชอบ

U : Unity ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

 

วัฒนธรรมองค์กร

พัฒนานวัตกรรม มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ร่วมพัฒนาท้องถิ่น

 

สมรรถนะหลัก

บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

 

พันธกิจ

  1. จัดการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัยอย่างมีมาตรฐานเป็นไปตามความต้องการในการพัฒนาประเทศ และผลิตบัณฑิตให้มีคุณค่าต่อสังคม
  2. ผลิตและพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม งานวิชาการรับใช้สังคม และงานสร้างสรรค์ที่เป็นที่ยอมรับและเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
  3. ประสานความร่วมมือกับชุมชน สังคม หน่วยภาคีเครือข่ายในการสร้างพลัง และหนุนเสริมการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม จนเกิดเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  4. พัฒนามหาวิทยาลัยแห่งการอยู่ดีมีสุข ที่มีการบริหารจัดการตามเกณฑ์การดำเนินงานที่เป็นเลิศและหลักธรรมาภิบาล ก้าวสู่การเป็น Smart University และมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green University)