แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
เรื่อง “กระบวนการวิเคราะห์ค่างาน เพื่อก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการ”
การวิเคราะห์ค่างาน หมายถึง กระบวนการวัดคุณค่าของตำแหน่ง โดยนำงานมาเปรียบเทียบกัน ภายใต้องค์ประกอบที่เป็นหลักเพื่อตีค่างานเป็นข้อมูลที่เป็นจริง เขียนวิเคราะห์งานที่ปฏิบัติมีขั้นตอนอย่างไรบาง ผ่านความเห็นชอบของใครบ้าง งานที่ปฏิบัติขั้นตอนใด ต้องผ่านตรวจสอบหรือไม่ผ่านการตรวจสอบ และงานที่ปฏิบัติต้องรายงานอย่างไร (เวลา) โดยมีกระบวนขั้นตอนดำเนินการดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
ศึกษาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง การประเมินค่างานเพื่อกำหนดระดับตำแหน่ง ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน พ.ศ. 2559 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งและการแต่งตั้นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น เพื่อให้ทราบหลักเกณฑ์การประเมินค่างานสำหรับตำแหน่งฯ
ขั้นตอนที่ 2
จัดทำแบบประเมินค่างานตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการและชำนาญการพิเศษ ตามแบบประเมินค่างานตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) กำหนด โดยการจัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่จะขอปรับปรุงการกำหนดระดับตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่ง เลขที่ ระดับตำแหน่ง ประเภทตำแหน่ง สังกัด หน้าที่ความรับผิดชอบและหน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ ลักษณะงานที่ปฏิบัติเดิมและลักษณะงานที่ปฏิบัติใหม่ของตำแหน่ง ซึ่งการขอกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ ต้องผ่านการประเมินตามองค์ประกอบหลักสำหรับตำแหน่งระดับชำนาญ 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 หน้าที่และความรับผิดชอบ ประกอบด้วย ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการวางแผน ด้านการประสานงาน และด้านการบริการ และวิเคราะห์ โดยวิเคราะห์งานตำแหน่งเดิม และตำแหน่งใหม่
ส่วนที่ 2 ความยุ่งยากและความซับซ้อนของงาน เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพและความยุ่งยากและความซับซ้อนของงานที่เปลี่ยนแปลงจากคุณภาพของงาน ตามหลักการทั่วไปจะดูที่ปริมาณงาน การประหยัดทรัพยากร/ค่าใช้จ่าย ความถูกต้อง ความทันเวลา และความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยงานตำแหน่งใหม่ควรจะมีคุณภาพมากกว่าตำแหน่งเดิม
ส่วนที่ 3 การกำกับตรวจสอบ เป็นการวิเคราะห์งานที่ได้รับการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบการปฏิบัติงานบ้าง การติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานเป็นระยะที่กำหนดในแผนปฏิบัติการ หรือติดตามผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ
ข้อสังเกต
– ทำน้อยได้คะแนนมาก
– ตรวจสอบน้อย กำกับดูแลให้คำแนะนำน้อยได้คะแนนมาก
– การเขียนอธิบายชี้แจงต้องพอระวังเป็นพิเศษ
– งานที่ปฏิบัติต้องผ่านใครบ้าง กี่ขั้นตอน เสนอตรงต่อผู้มีอำนายพิจารณา/อนุมัติหรือต้องผ่านหัวหน้างาน หรือผ่านใครบ้าง
– งานที่ปฏิบัติมีงานอะไรบ้างต้องผ่านการตรวจสอบจากหัวหน้างานที่เสนอขอกำหนดตำแหน่ง ขั้นตอนไหน ต้องผ่านการตรวจสอบ ขั้นตอนไหนไม่ต้องผ่านการตรวจสอบ
ส่วนที่ 4 การตัดสินใจ เป็นการวิเคราะห์การปฏิบัติงานมีการตัดสินใจบ้าง หรือการตัดสินใจค่อนข้างมากสามารถวางแผนและกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบ หรือการตัดสินใจด้วยตนเองอย่างอิสระ สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานที่รัลผิดชอบ หรือการตัดสินใจด้วยตนเองอย่างอิสระ ริเริ่มพัฒนาแนวทางและวิธีการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 3
จัดทำบันทึกข้อความ เรื่อง ขอส่งเอกสารการวิเคราะห์และประเมินค่างานของบุคลากรสายสนับสนุน เสนอผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนลงนาม และเสนอผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีพิจารณา
ขั้นตอนที่ 4
ติดตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง การกำหนดกรอบตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นระดับชำนาญการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป