การเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์
โครงการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
หมู่ที่ 6 บ้านทับพริก ตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
บ้านทับพริก หมู่ที่ 6 เป็นชุมชนแนวตะเข็บชายแดน อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 กำนันตำบลทับพริกมีความเห็นว่าพื้นที่และประชากรของบ้านทับพริก หมู่ 2 มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นการลำบากต่อการปกครอง เนื่องจากบริเวณหมู่บ้านเป็นพื้นที่ติดกับชายแดนกัมพูชาจึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านเพิ่มเติมโดยแยกหมู่ 6 ออกจากหมู่ 2 และใช้ชื่อบ้าน หมู่ 6 ว่า “บ้านทับพริก”
ชุมชนแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีวิสาหกิจเกษตรแบบผสมผสานเพื่อความยั่งยืนเป็นผู้รวบรวมผลผลิตปุ๋ยอินทรีย์และบรรจุหีบห่อเพื่อจัดจำหน่ายเป็นสินค้าชุมชนภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันแต่ในปัจจุบันปริมาณปุ๋ยที่ผลิตได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรประกอบอาชีพทำไร่เป็นหลัก มีความต้องการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ในการเกษตรของครัวเรือนช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีทางการเกษตร บางครัวเรือนคาดหวังว่าหากประสบความสำเร็จจะสามารถใช้เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้แก่ครัวเรือน
- สมาชิกชุมชนบ้านทับพริก หมู่ที่ 6 ตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 10 คน
- เพื่อเสริมสร้างความรู้ทักษะด้านการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
- เพื่อพัฒนาอาชีพการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้กับกลุ่มครัวเครือนที่เป็นเป้าหมาย
- เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มครัวเรือนที่เป็นเป้าหมาย
- สำรวจบริบทและจัดทำข้อมูลชุมชน (พ.ย. 2561 – 2562)
– ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรประกอบอาชีพทำไร่
– รายได้เฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมาย 6,800 บาท/เดือน
– มีความต้องการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ในการเกษตรของครัวเรือนช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีทางการเกษตรรวมทั้งเป็นรายได้เสริม - วิเคราะห์ ประเมินความเป็นไปได้ในการส่งเสริมและพัฒนา (เม.ย. 2562)
- รวบรวมจัดทำรายชื่อบุคคล ครัวเรือนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (เม.ย. 2562)
- ประชุมครัวเรือนเป้าหมาย
– จัดหาเครือข่ายวิทยากร/หน่วยงานสนับสนุน
– อบรมเิชงปฏิบัติการ การทำบัญชีครัวเรือน
– เติมทักษะ ความรู้ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หลักสูตรพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ตามความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
– จัดทำตราผลิตภัณฑ์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ (พ.ค. 2562) - ตรวจเยื่ยม ติดตามเผล
– จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ (มิ.ย. 2562)
- กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้ ทักษะในการเลี้ยงไส้เดือน การพัฒนาอุปกรณ์การเลี้ยงไส้เดือนโดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาพื้นบ้าน การเพิ่มช่องทางจำหน่ายปุ๋ยผ่านสื่อสังคมออนไลน์
- มีการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงไส้เดือนคอนโดนเเบบพึ่งพาตนเอง
- เกิดเครือข่ายกับกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ (มูลโค) สำหรับเลี้ยงไส้เดือน
- ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2562 สามารถเก็บปุ๋ยมูลไส้เดือน ได้จำนวน 3 ครั้ง รวมประมาณ 100 กิโลกรัมนำไปใช้สำหรับการเกษตรในครัวเรือน 25% ของปุ๋ยที่เก็บได้ เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 35 บาท สมาชิกตกลงกันว่ารายได้ที่เกิดข้นยังไม่ปันส่วนให้ครัวเรือน แต่จะเก็บไว้ซื้อวัสดุที่จำเป็นในการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อขยายปริมาณผลิตให้มากขึ้น
- เมื่อกลุ่มเป้าหมายมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นควรส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานหรือเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- ควรมีการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เช่น การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์จากไส้เดือนในสูตรอื่นๆ ที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด เป็นต้น
โดย วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
อาจารย์ ดร.ประภาพร ชุสีลัง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวารีย์ ศรีปูณะ
อาจารย์ ดร.อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์
อาจารย์ ดร.สุนทรีย์ จีนธรรม
การเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์
วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
โครงการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
หมู่ที่ 6 บ้านทับพริก ตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี ประจำปีงบประมาณ 2562