- วิสัยทัศน์
- VISION
“เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยการบูรณาการภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล”
- พันธกิจ
- MISSION
พัฒนาศักยภาพบัณฑิต และบุคลากร
พัฒนาศักยภาพบัณฑิต และบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร และอาหารให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะ และเป็นที่พึงประสงค์ของสังคม
พัฒนาการบริหารจัดการ
พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
พัฒนาการวิจัย
พัฒนาการวิจัยโดยสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยเชิงประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร และอาหาร รวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน
บริการวิชาการ ประสานความร่วมมือ พันธกิจสัมพันธ์
พัฒนาการบริการวิชาการ ประสานความร่วมมือ พัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์แก่ชุมชนในท้องถิ่น ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเสริมนวัตกรรม
ศิลปวัฒนธรรม
ส่งเสริมและสนับสนุนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของคณะ
ประชาธิปไตย
ส่งเสริม และสนับสนุนงานกิจการนักศึกษาด้านประชาธิปไตย การดำเนินชีวิตในสังคมยุคดิจิทัล และการนำความรู้ความสามารถด้านการเกษตรไปประยุกต์ใช้กับชุมชนท้องถิ่น
เป้าประสงค์ : (GOAL)
บัณฑิตเทคโนโลยีการเกษตรมีคุณภาพมาตรฐาน มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีศักยภาพสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
วิจัยและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการเกษตรสามารถแก้ไขปัญหาหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่น เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนของประเทศ
ประชาชนสามารถดำรงชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความสุข และมีรายได้เพิ่มขึ้น
บัณฑิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีคุณะรรม ศีลธรรม จริยธรรม จิตสานึกที่ดีต่อสังคมโดยรวม รักษาวัฒนธรรมและเข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรม
คณะมีคุณธรรม มาตรฐาน โปร่งใส และธรรมาภิบาตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและเป็นที่ยอมรับต่อประชาชน
ยุทธศาสตร์ : (STRATEGY)
การผลิตบัณฑิตทางเทคโนโลยีการเกษตรโดยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ สร้างเครือข่ายความร่วมมือตามรูปแบบประชารัฐเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในการพัฒนาท้องัิ่นโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การวิจัยและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น
การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ด้านเทคโนโลยีการเกษตรและถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รณรงค์ สร้างจิตสานึกทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้ต่างวัฒนธรรม อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม พัฒนาระบบบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมที่นาไปต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศมีธรรมาภิบาล
แผนยุทธศาสตร์คณะเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ. 2562-2566
การผลิตบัณฑิตเทคโนโลยีการเกษตรโดยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ สร้างเครือข่ายความร่วมมือตามรูปแบบประชารัฐเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์
- พัฒนาปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive learning) ที่ได้มาตรฐานสากล
- พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมในการทางานสู่ประชาคมอาเซียน+3+I
- ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาสมรรถนะทักษะด้านภาษาสากล
- สร้างเครือข่ายในรูปแบบประชารัฐเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
ตัวชี้วัด
เป้าประสงค์ที่ 1 บัณฑิตมีคุณภาพมาตรฐาน มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีศักยภาพสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
- จำนวนหลักสูตรระยะสั้นที่พัฒนา หรือปรับปรุงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการท้องถิ่น
- จำนวนหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่พัฒนา หรือปรับปรุงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการท้องถิ่น
- จำนวนผลงานเชิงประจักษ์ที่ได้รับรางวัลหรือการเผยแพร่ใน ระดับชาติหรือนานาชาติหรือตามเกณฑ์ที่ กพอ.กำหนด
- จำนวนผลงานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาที่ได้รับการอ้างอิงหรือใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
- จำนวนผลงานวิจัย หรือผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ระดับชาติ หรือ นานาชาติตามเกณฑ์ กพอ.กาหนด
- ร้อยละของอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติร่วมกับชุมชนต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด
- ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติร่วมกับชุมชนต่อจำนวนนักศึกษาทั้งหมด
- ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับที่มี ผลงานเชิงประจักษ์ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่ตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิ่น
- จำนวนแนวปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ
- ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่มีผลการทดสอบตามเกณฑ์ความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CEFR)3 หรือเทียบเท่า ตั้งแต่ ระดับ B1 ขึ้นไป
- จำนวนผู้ประกอบการใหม่ Startup ที่เกิดจากการบ่มเพาะของมหาวิทยาลัย
- ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่มีงานทาหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
- ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น
กลยุทธ์
- จัดหา สนับสนุนงบประมาณทุนวิจัย
- สร้างผลงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อตอบโจทย์ระดับประเทศชาติและท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประชารัฐ ลดความเหลื่อมล้า สร้างความมั่งคั่ง และยั่งยืนของท้องัิ่น ประเทศชาติ
- พัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยสร้างชุมชนอุดมปัญญา
ตัวชี้วัด
เป้าประสงค์ที่ 2 วิจัยและนวัตกรรมสามารถแก้ไขปัญหาหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่น เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนของประเทศ
- ร้อยละของผลงานวิจัยหรือ งานสร้างสรรค์ของอาจารย์ที่สร้าง นวัตกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาท้องถิ่น และโจทย์การพัฒนาประเทศ หรือแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น หรือ ปัญหาระดับประเทศ
- จำนวนโครงการวิจัยรับใช้สังคมที่เกิดจากความร่วมมือองค์กรภาคีเครือข่าย
- จำนวนผลงานวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ
- จำนวนบทความของอาจารย์ประจำที่ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI ISI SJR และ Scopus (พิจารณาผลงานย้อนหลัง 5 ปีปฏิทิน ที่ได้รับการอ้างอิง ณ ปีปัจจุบัน )
- จำนวนผลงานวิจัยเชิงประยุกต์ที่มีการจดทะเบียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เป็นต้น
- จำนวนนวัตกรรมหรือผลงานบริการวิชาการที่สามารถสร้างคุณค่าแก่ ผู้รับบริการ ชุมชน และสังคมได้โดยสามารถนำผลงานบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา
- จำนวนอาจารย์ หรือบุคลากรที่ได้รับรางวัลจากงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ทั้งในระดับชาติ หรือนานาชาติ
การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กลยุทธ์
- สร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
- พัฒนาศูนย์เรียนรู้โครงการตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ และเฉลิมพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์
ตัวชี้วัด
เป้าประสงค์ที่ 3 ประชาชนสามารถดำรงชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขและมีรายได้เพิ่มขึ้น
- จำนวนชุมชนที่มีศักยภาพในการจัดการตนเอง
การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รณรงค์ สร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้ต่างวัฒนธรรม อนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม พัฒนาระบบการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมที่นำไปต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
กลยุทธ์
- บริหารจัดการงานทานุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานเผยแพร่วัฒนธรรมไทย
ตัวชี้วัด
เป้าประสงค์ที่ 4 บัณฑิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จิตสำนึกที่ดีต่อสังคมโดยรวม รักษามรดกทางวัฒนธรรมและเข้าใจในสังคมพหุวัฒนธรรม
- จำนวนผลงานอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศมีธรรมาภิบาล
กลยุทธ์
- ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถให้เข้าทางานในมหาวิทยาลัย พัฒนาขีดสมรรถนะของทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่องทันต่อความเปลี่ยนแปลง
- ปรับปรุงกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จัดการฝึกอบรมและพัฒนาที่มุ่งเน้นการปฏิบัติการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและเป็นมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบต่อสังคมและได้มาตรฐานสากล
- จัดหาและพัฒนาทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการขั้นพื้นฐานภายในมหาวิทยาลัยให้พร้อมต่อการเป็น Semi residential university
ตัวชี้วัด
เป้าประสงค์ที่ 5 มหาวิทยาลัยมีคุณภาพ มาตรฐาน โปร่งใส และธรรมภิบาลตอบสนองต่อความต้องการประเทศและเป็นที่ยอมรับต่อประชาชน
- ร้อยละของอาจารย์ประจำสถาบันที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
- ร้อยละของอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศต่ออาจารย์ทั้งหมดที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิจาก ก.พ.
- ร้อยละของอาจารย์ประจำสถาบันที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
- ร้อยละของบุคลากรสายสนับสนุนที่เข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นจากผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ การประเมิน
- ร้อยละของหลักสูตรที่มีผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ สกอ. อยู่ในระดับดีมาก
- ร้อยละหลักสูตรที่ผ่านการขึ้นทะเบียน TQR
- ค่าเฉลี่ยระดับความผูกพันของ บุคลากรต่อองค์กร
- ค่าคะแนนการประเมินผลงานของคณะ
แผนกลยุทธ์คณะเทคโนโลยีการเกษตร
แผนปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีการเกษตร
- แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
- แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
- แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
- แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560