ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) ไม่เชื่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับรู้โดยทันที รู้จักตั้งข้อสงสัยและคำถาม การสื่อสารความคิดต่าง (Communication) สามารถสื่อสารความคิดที่แตกต่างให้เข้าใจด้วยเหตุผลที่ดี การทำงานร่วมกัน (Collaboration) สามารถทำงานเป็นทีม รู้จักถกเถียง เจรรา ต่อรอง หาข้อยุติและร่วมมือกันทำงาน การสร้างนวัตกรรม (Innovation) สามารถคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม อันเนื่องจากการทำงานเป็นทีม ทักษะชีวิต (Life Skills) รู้จักกำหนดเป้าหมายและวางแผน รู้จักวางแผน มองไปข้างหน้า และรู้เป้าหมายของชีวิต รู้จักค้นหาทางเลือก ค้นหาทางเลือกที่มีมากกว่า 1 ทางเลือกเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ รู้จักตัดสินใจ กล้าตัดสินใจเพื่อเลือกหนทางไปสู่เป้าหมาย รู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองไม่โวยวางหรือโอดครวญ ว่าเป็นความผิดของผู้อื่น รู้จักทบทวนและรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำ รู้จักยืดหยุ่น หากเป้าหมายแรกที่วางไว้ผิดพลาดจะกลับไปวางแผน และมองหาทางเลือกใหม่เพื่อตัดสินใจ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Skills) รู้จักเสพข่าวสาร สามารถบริหารเวลา และชนิดของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ รู้จักวิเคราะห์ข่าวสาร สามารถตั้งคำถามและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ รวมทั้งค้นหาทางเลือกอื่น รู้จักใช้ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิต…

ไล่เรียงสาเหตุ ทำไมน้ำท่วมอุบลฯ

ไล่เรียงสาเหตุ ทำไมน้ำท่วมอุบลฯ หลังจากที่ผมได้เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่จังหวัดอุบลราชธานีอย่างใกล้ชิดมาหลายสัปดาห์ และได้พูดคุยหารือกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมอุบลฯ ในครั้งนี้ ผมขอสรุปให้ทุกคนเข้าใจอย่างง่าย ๆ ดังนี้ครับ… สาเหตุเกิดจากฝนที่ตกหนักจากพายุโพดุลและพายุคาจิกิ ทำให้จังหวัดอุบลฯ มีน้ำท่วมจากฝนตกหนักในพื้นที่ตนเอง และรับมวลน้ำที่หลากลงมาจากจังหวัดต่างๆ ผ่านแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ซึ่งไหลมาบรรจบกันที่จังหวัดอุบลฯ ก่อนไหลออกสู่แม่น้ำโขง เมื่อปริมาณน้ำที่ไหลมารวมกันในอุบลฯ มีปริมาณมาก ทำให้ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงอย่างช้าๆ ประกอบกับฝนที่ตกหนักในลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำมูลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านเมื่อช่วง 7 วันที่ผ่านมา ได้ไหลลงมาเติมในแม่น้ำมูลสายหลัก ทำให้อัตราการลดลงชะลอตัว คาดว่าระดับน้ำจะลดลงสู่ตลิ่งในช่วงต้นเดือนตุลาคม เมื่อเรารู้ถึงสาเหตุแล้ว สิ่งที่สำคัญต่อจากนี้ คือในบทบาทหน้าที่ของอว.เราจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ประสบภัยอย่างไรต่อไป ? รอติดตามได้เลยครับ ที่มา : ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

สกว. เปลี่ยนเป็น สกสว. (TRF Transformation to TSRI)

Infographic : ทำไมต้องปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Infographic : Timeline การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Infographic : สกสว. ภายใต้โครงสร้าง สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Infographic : จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สู่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) Infographic : วัตถุประสงค์ของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ภายใต้การดำเนินงานของ สกสว. Infographic : การจัดสรรงบประมาณของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ภายใต้การดำเนินงานของ สกสว. ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

เป้าหมาย 20 ปีของ “ยุทธศาสตร์ชาติ”

เป้าหมายที่ร่างยุทธศาสตร์ไว้จนถึง พ.ศ. 2579 ซึ่งจะวางเป็นกรอบใหญ่ไว้สำหรับกำหนดเป้าหมายในทุก ๆ 5 ปี เพื่อมุ่งสร้างความมั่นคง เหมาะกับใคร คนไทยทุกคน ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ใจความสำคัญ เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานของแผนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งภายใต้แผนพัฒนาใน 20 ปีนี้ จะมีต้องมีการบรรลุเป้าหมายในด้านต่าง ๆ ทุก ๆ 5 ปี เพื่อให้เห็นการพัฒนาของประเทศ เป้าหมายใน 5  ปีแรก จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบต่าง ๆ ครั้งยิ่งใหญ่  โดยเน้นแก้ไขสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของประเทศ และใช้จุดแข็งของประเทศให้เกิดประโยชน์ใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาผสมผสานเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป้าหมายใน 10 ปี ประเทศจะต้องมีระบบเศรษฐกิจที่ดี โดยเริ่มจากการสนับสนุนการวิจัย และการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับสินค้ากลุ่มเกษตรและสาธารณสุข นอกจากนี้ผู้ประกอบการจะต้องทันเทคโนโลยี และยังต้องสร้างบุคลากรทางการวิจัย เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เป้าหมายใน 15 ปี ประชากรในประเทศจะต้องเป็นประชากรที่มีคุณภาพ โดยจะพัฒนาให้บุคลากรทุกช่วงวัย มีศักยภาพสูง มีความรู้และทักษะ นอกจากนี้สังคมไทยจะเป็นสังคมที่เท่าเทียม…

ลงทุนพัฒนาประเทศผ่านสถาบันอุดมศึกษาฯ

ลงทุนพัฒนาประเทศผ่านสถาบันอุดมศึกษา ปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ยุทธศาสตร์ภาคเหนือ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย และ เศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การพัฒนาอาหารสู่ครัวโลก และ การเกษตร ยุทธศาสตร์ภาคตะวันตก วิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ อตุสาหกรรมบริการ การท่องเที่ยว เชิงธรรมชาติ การโรงแรมและที่พัก อุตสาหกรรมการเกษตร เกษตรอินทรีย์ อตุสาหกรรมอาหาร และการบริการ ยุทธศาสตร์ภาคกลาง การท่องเที่ยว การเกษตร และ สิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ภาคใต้ เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ยุทธศาสตร์ กรุงเทพมหานคร การดูแลผู้สูงอายุเขตเมือง อุตสาหกรรมบริการ ที่มา : สำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา

ประกันคุณภาพการศึกษาและส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ. 2557 และอื่นๆ ที่มา : สำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา

ช่วงชีวิตหนึ่งของคุณสร้างขยะได้มากแค่ไหน | Greenpeace

ช่วงชีวิตหนึ่งของคุณ สร้างขยะได้มากแค่ไหน? มาร่วมกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หันมาใช้ชีวิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะคุณคือตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดอนาคตของโลกใบนี้ ที่มา : www.greenpeace.or.th

เราจะผ่านเมษายนนี้ ไปได้อย่างไร? | โดย สสส.

เราจะผ่านเมษายนนี้ ไปได้อย่างไร? ระวัง! น้ำแข็งคือแหล่งบ่มเพาะเชื้อโรคตัวดี ทำท้องเสียได้ง่ายๆ และการดื่มน้ำเย็นจัดตอนร้อนจี๋ จะทำให้ร่างกายปรับอุณภูมิไม่ทัน ทำให้เป็นไข้ได้นะ ที่มา : www.greenery.org/infographics