การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ “ระบบอุดมศึกษาไทย” ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก สำคัญอย่างไร

       จากสถานการณ์โลกในมิติต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่เห็นได้ชัดนั่นก็คือวิกฤตโควิด-19 อีกทั้งยังมีปัญหาช่องว่างระหว่างยุค สังคมสูงวัย ความเหลื่อมล้ำในโอกาสการเข้าถึงการศึกษา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างฉับพลัน และการเปลี่ยนขั้วอำนาจเศรษฐกิจของโลก จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ระบบอุดมศึกษาไทยให้เท่าทันต่อสถานการณ์ข้างต้น

? ระบบอุดมศึกษาไทย พร้อมแค่ไหนต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
โดยภาพรวมของประเทศยังมีความท้าทายในการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์โลก เนื่องจากกำลังคนยังไม่สอดรับกับความต้องการของประเทศ และการพัฒนาระบบอุดมศึกษานั้นยังคงต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการในการจัดการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562

นอกจากนี้ยังต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผน และยุทธศาสตร์ชาติ โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพ และความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษา ตามกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 อีกด้วย

? จากเหตุผลดังกล่าว ระบบอุดมศึกษาของไทย จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ หรือ Paradigm shift ใน 4 ด้าน ผ่านเลนส์ (L-E-N-S) ซึ่งประกอบด้วย

? L – Lifelong Learning Support : Broader Target
การสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการขยายขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย

? 1. จาก Three-stage life ไปสู่ Multi-stage life:
ประเทศไทยเข้าสู่ “Aged Society” อย่างเต็มตัว จึงต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตจากเดิมด้วยการมีช่วงระยะเวลาการทำงานที่ยาวนานมากขึ้นเราจะเห็นบริษัทต่างๆ จ้างงานผู้สูงวัยมาทำงานมากยิ่งขึ้นในตำแหน่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการสนับสนุน ผ่านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ที่เปิดโอกาสให้คนทุกช่วงวัย เข้ามามีส่วนร่วมในการ Reskill, Upskill และ New Skill อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถอยู่รอดในยุคของ Disruption ได้

? 2. จาก Institution-based ไปสู่ National credit bank:
สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งมีความเชี่ยวชาญต่างกัน แต่ไม่ได้ทำงานร่วมกัน ทำให้นักศึกษาไม่สามารถสะสมหน่วยกิตข้ามมหาวิทยาลัย และได้รับหลักฐานการเรียนมาใช้ประโยชน์ในการหางานทำได้ จึงควรลดขั้นตอนความซ้ำซ้อนนี้ โดยการจัดตั้งหน่วยงานกลางที่สถานศึกษาและผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยการเรียนรู้และเรียกใช้ข้อมูลจากหน่วยงานกลางดังกล่าวได้ เพื่อรับรองผลการเรียนหรือการเทียบโอนผลการเรียนได้อย่างคล่องตัว

? 3. กระจายโอกาสทางการศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาทั้งในเชิง Accessibility และ Affordability ในรูปแบบที่ทันสมัย เพื่อสร้างโอกาสให้คนในประเทศได้เข้าถึงการศึกษาได้ทุกคน และทุกช่วยวัย

? E – Education Goal : Quality Change
เป้าหมายของการจัดการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพ

? 1. จาก Supply-driven ไปสู่ Co-creation:
มหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องออกแบบหลักสูตร และโมเดลการศึกษา ร่วมกับภาคเอกชน เพื่อเลี่ยงปัญหาการทำงานไม่ตรงกับสาขาที่จบมา สามารถส่งมอบการเรียนรู้ในรูปแบบสหวิชาการ และการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต ซึ่งในส่วนของผู้เรียนนั้นก็มีความต้องการที่จะเรียนในสาขาที่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุนด้านการศึกษา

? 2. จาก Degree-oriented ไปสู่ Employability-oriented:
มหาวิทยาลัยสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับอุตสาหกรรมของผู้เรียนได้ (Real-sector engagement) โดยมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในหัวเมืองหลัก ควรสร้างความพร้อมให้บัณฑิตก่อนที่เข้าสู่การทำงานจริง ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมในภาพใหญ่ ในขณะที่มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ควรเน้นการสร้างบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น

? 3. จาก Content-based ไปสู่ Competency-based:
การปรับเปลี่ยนจากการศึกษาเดิมที่เน้นการสอนของอาจารย์ให้เป็นการสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อการเรียนรู้ และผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

? N – National Agenda : Competitive Change
วาระสำคัญของชาติเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

? 1. จาก Local perspective ไปสู่ Global perspective
การสร้างเมืองในประเทศให้กลายเป็น “ศูนย์กลางทางการศึกษา” (Education Hub) ไปสู่ระดับภูมิภาค และระดับโลก นอกจากจะดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาศึกษา แลกเปลี่ยนทางวิชาการ และงานวิจัย นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาระดับสากลแล้วนั้น ยังเป็นการเตรียมความพร้อมกำลังแรงงานเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

? 2. Towards Creative Ecosystem : การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
ด้วยการพัฒนานิเวศสร้างสรรค์ การสร้างบรรยากาศสร้างสรรค์ ทั้งจากการสร้างพื้นที่เปิดในการแสดงความคิด การจัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรม เช่น พิพิธภัณฑ์ หอศิลปะ ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นจินตนาการ เอื้ออำนวยต่อการคิดสิ่งใหม่ การกล้าแสดงออกทางความคิดที่สร้างสรรค์ รวมถึงการปรับเปลี่ยนแนวคิด (Mindset) ทัศนคติ (Attitude) เพื่อให้เกิด Creative ecosystem อย่างแท้จริง

? S – Sustainable System : System Change
ระบบอุดมศึกษาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ

? 1. จาก Limited access ไปสู่ Opened access:
การมีธรรมาภิบาลในระบบอุดมศึกษา (Good governance) ในส่วนของการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและหน่วยงานต่าง ๆ โดย การเปลี่ยนจากการใช้กลไกกำกับมหาวิทยาลัย เป็นการตรวจสอบมหาวิทยาลัยด้วยการเปิดเผยข้อมูล เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียน และการเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาที่สนใจ

? 2. จาก Supply-side ไปสู่ Demand-directed financing:
ควรมีนโยบายที่นำสัญญาณความต้องการ (Demand Signals) ของประเทศและนักศึกษา มาพิจารณาเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ในการจัดการศึกษาเพื่อนำประเทศไปสู่ความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) เช่น นโยบายการสนับสนุนงบประมาณเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ (Demand-Directed Financing) เป็นต้น

? การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ดังกล่าวสอดคล้องกับ “ปรัชญาการอุดมศึกษาไทยและระบบอุดมศึกษาใหม่ด้านการสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคน” โดยกระทรวง อว. เพื่อให้การอุดมศึกษาไทยมุ่งสร้างบัณฑิต และพัฒนากำลังคนทุกช่วงวัย ให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีสมรรถนะที่จำเป็นต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน (Disruption) เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

? การดำเนินงานในปัจจุบัน โดยกระทรวง อว. สอวช. ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ได้มีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การขับเคลื่อนนโยบาย และแผนงานที่สำคัญ อาทิ

? โปรแกรมสนับสนุนการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับการลงทุน
? การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา
? การปฏิรูประบบงบประมาณด้านการอุดมศึกษา
? ระบบธนาคารหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา
? การขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ

แหล่งที่มา : รายงานการศึกษาระบบอุดมศึกษาไทยในบริบทของประเทศพัฒนาแล้ว
(ฉบับที่ 1: การผลิตและพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ)

ที่มา : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

Leave a Reply