เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 อาจารย์ ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดี ได้มอบนโยบาย ทิศทางของวงการศึกษาไทย และการนำพามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือบ้านวไลยอลงกรณ์ ของเราไปในทิศทางเดียวกัน หัวข้อของการถ่ายทอดมีอยู่ 5 ประเด็น คือ 1. ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20ปี (RU. Strategic Initiative) 2. VRU Business Model 3. Quick Win Project to Reinventing VRU. 4. VRU Professional Development และ 5. The Future of University
ท่ามกลางสภาวะวิกฤตของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยทั่วโลก ต่างก็ประสบปัญหาร่วมกัน อาทิเช่น การลดจำนวนลงของนักศึกษา การลดลงของเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การลดลงของรายได้จากค่าลงทะเบียนของนักศึกษา ภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการพัฒนารองรับการเปลี่ยนแปลงที่สูงมาก ทักษะความสามารถของบัณฑิตที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงาน ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายของมหาวิทยาลัยที่ต้องเผชิญ
ในปัจจุบันบริษัทข้ามชาติ หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ของต่างชาติ ไม่ได้มองปริญญา หรือคุณวุติในการทำงานร่วมกันขององค์กร ทำให้จำนวนนักเรียน หรือนักศึกษาจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะหาประสบการณ์ พัฒนาศักยภาพ ความสามารถของตนเองจากการศึกษาเอง หรือเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ ดังเราจะได้เห็นบุคคลระดับโลกที่ประสบความสำเร็จได้ โดยได้หยุดพักการเรียนเอาไว้ แล้วหันมาก่อตั้งทีมงานจนเกิดเป็นองค์กรที่โลกรู้จักกันเป็นอย่างดี อาทิเช่น Tiger Woods (ไทเกอร์ วู๊ดส์) โปรกอล์ฟระดับโลก อดีตนักกอล์ฟหมายเลข 1 ของโลก ทที่พักการเรียนเมื่ออยู่ในช่วงการศึกษาชั้นปีที่ 2 มีมูลค่าทรัยพ์สิน 0.6 USD หรือแม้แต่ Jawed Karim (จาแวด การีม) ผู้ก่อตั้ง Youtube สื่อวีดีโอที่เรารู้จักกัน และใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคนี้ เขาได้พักการเรียนเมื่ออายุ 21ปี มีทรัพย์สิน 0.14 USD และอีกหนึ่งคนที่เรารู้จักกันดี Bill Gates (บิล เกตส์) ผู้ก่อตั้ง Microsoft มหาเศรษฐีอันหนึ่งของโลก ได้พักการเรียนเมื่ออายุ 19 มีทรัยพ์สินสูงถึง 97.2 USD และอีกหลายๆคน เป็นต้น
The Future of University
ความท้าทายของการอุดมศึกษาในประเทศไทย
แนวโน้มของโลกได้สร้างปรากฏการณ์ความรู้ และค่านิยมส่งผลต่อเศรษฐกิจ ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล ส่งผลกระทบต่อทุกวงการ ปรากฏการณ์ภมูิอากาศที่ผันผวน ส่งผลต่อควาเป็นอยู่ ปรากฏการณ์ประชาธิปไตย สังคมผู้สูงวัย สู่การอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้คน
ก่อให้เกิดยุทธศาสตร์ระดับชาติ และระดับภูมิภาคในการสร้างยุทธศาสตร์ระดับชาติ และกระทวงการอุดมศึกษา การพัฒนาพื้นที่ และมหาวิทยาลัยของรัฐ ประสบการณ์ และมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ตลาดชีวิต เพื่อรองรับปรากฎการณ์เมื่อหลักสูตร และมหาวิทยาลัยล้นตลาด แต่จำนวนนักศึกษาลดลง
การเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างนวัตกรรมร่วมกัน การบ่มเพาะผู้ประกอบการ การมีส่วนร่วมกับชุมชน และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร สิ่งเหล่านี้กลายเป็นความหวังใหม่ และความท้าทายในเวลาเดียวกันที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยก้าวผ่านไปได้