แทนคุณ วงค์ษร

งบมหาวิทยาลัย ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 2563

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2562 ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราชราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาทวาระแรก โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงชี้แจงและนำครม.ส่วนราชการชี้แจงตอบข้อซักถามของสภา   จากสำนักข่าว “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ตรวจสอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 63 พบว่า งบประมาณที่น่าสนใจคือ งบของมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่กระทรวงฯได้รับการจัดสรรงบประมาณวงเงิน 1.4 แสนล้านบาท โดยมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดสรรงบฯสูงสุด 5 มหาวิทยาลัยลำดับต้นๆได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยมหิดล 1.2 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.1 พันล้านบาท 2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5.8 พันล้านบาท ลดลง 722 ล้านบาท 3.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5.5 พันล้านบาท ลดลงจากปี 62 จำนวน 432 ล้านบาท…

การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเครือข่ายฯ

ขั้นตอนกระบวนการขับเคลื่อนการดําเนินเชิงบูรณาการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสระแก้ว คณะกรรมการดําเนินงานประสานงาน สร้างความเข้าใจหน่วยเหนือ สร้างเครือข่ายประชารัฐ คณะกรรมการดําเนินงานคัดเลือกอาจารย์ แต่งตั้งมอบหมายงาน คณะกรรมการดําเนินงานประชุมเชิงปฏิบัติการอาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่าย คณะกรรมการดําเนินงานคัดเลือกสถานศึกษานําร่อง รับสมัครคณะครูผู้ร่วมพัฒนาบทเรียน/นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะกรรมการดําเนินงาน อาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายประสานงานขอข้อมูลที่มีอยู่จากหน่วยงาน ออกแบบเครื่องมือ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบฐานข้อมูลสถานศึกษา อาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายเยี่ยมชม สํารวจปัญหา ความต้องการจากสถานศึกษา อาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายประมวลผลข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ นําเสนอ พัฒนาระบบจัดเก็บ อาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายประชุมนําเสนอ คืนข้อมูล จัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา กําหนดแผนดําเนินงาน อาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายทบทวนพัฒนานวัตกรรม จัดหาตัวอย่างนวัตกรรมต้นแบบ คณะกรรมการดําเนินงาน ประชุมปฏิบัติการคณะครูเครือข่ายร่วมพัฒนา ครั้งที่ 1 อาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายเยี่ยมชมผลงาน เสริมพลังการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ครั้งที่ 1 คณะกรรมการดําเนินงาน ประชุมปฏิบัติการคณะครูเครือข่ายร่วมพัฒนา ครั้งที่ 2 อาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายเยี่ยมชมผลงาน เสริมพลังการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ครั้งที่ 2 อาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่าย คณะครูสังเคราะห์ ถอดบทเรียน จัดทําสื่อเผยแพร่ จัดการความรู้รายสถานศึกษานําร่อง คณะกรรมการดําเนินงาน อาจารย์ร่วมพัฒนาโรงเรียนเครือข่าย คณะครูประชุมปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การยกระดับคุณภาพการศึกษา…

OKRs VRU พ.ศ. 2563-2565

“การเปลี่ยนผ่านจากสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัย กระบวนงาน รวมทั้งผลงานหลักที่จะประกอบสร้าง ส่งมอบแก่สาธารณะ ในฐานะมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ ภาพเหล่านี้คือสาระสำคัญที่ผมสื่อถึง พวกเราชาววไลยอลงกรณ์” ผศ.ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดี มรภ.วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 4 ตุลาคม 2562 นโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ. 2563-2570 Platform and program Related RU. การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ โปรแกรมที่ 3 : ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต O1.3 : พัฒนาระดับการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทักษะเพื่ออนาคต KR1.3.1 : บุคลากรวัยทำงานมีทักษะใหม่ สามารถปรับตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจอย่างฉับพลัน (Disruption) KR1.3.2 : ระบบการเรียนรู้และเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตทีเข้าถึงได้สำหรับทุกคน KR1.3.3 : เยาวชนมีทักษะแห่งอนาคตโดยเฉพาะทักษะด้านวิจัย วิศวกรรมและนวัตกรรม โดยการสร้างโรงประลองทางวิศวกรรม 10,000 แห่งภายใน 4 ปี (2566) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม…

การเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์

การเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โครงการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หมู่ที่ 6 บ้านทับพริก ตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว บ้านทับพริก หมู่ที่ 6 เป็นชุมชนแนวตะเข็บชายแดน อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 กำนันตำบลทับพริกมีความเห็นว่าพื้นที่และประชากรของบ้านทับพริก หมู่ 2 มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นการลำบากต่อการปกครอง เนื่องจากบริเวณหมู่บ้านเป็นพื้นที่ติดกับชายแดนกัมพูชาจึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านเพิ่มเติมโดยแยกหมู่ 6 ออกจากหมู่ 2 และใช้ชื่อบ้าน หมู่ 6 ว่า “บ้านทับพริก”   ชุมชนแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีวิสาหกิจเกษตรแบบผสมผสานเพื่อความยั่งยืนเป็นผู้รวบรวมผลผลิตปุ๋ยอินทรีย์และบรรจุหีบห่อเพื่อจัดจำหน่ายเป็นสินค้าชุมชนภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันแต่ในปัจจุบันปริมาณปุ๋ยที่ผลิตได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรประกอบอาชีพทำไร่เป็นหลัก มีความต้องการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ในการเกษตรของครัวเรือนช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีทางการเกษตร บางครัวเรือนคาดหวังว่าหากประสบความสำเร็จจะสามารถใช้เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้แก่ครัวเรือน   กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกชุมชนบ้านทับพริก หมู่ที่ 6 ตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 10 คน…

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบฉบับเร่งด่วน

ช่วงสอบเป็นช่วงที่น้องๆ อาจจะกังวลหนักที่สุด แต่กว่าจะไปถึงฝันนั้นก็ต้องผ่านด่านสอบอันแสนหฤโหดไปให้ได้ซะก่อน และการจะอ่านหนังสืออย่างไรให้จำ หรืออ่านหนังสือไม่ทันทำอย่างไรดี นี่สิปัญหา บทความนี้เราจึงมีเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อ เป็นเทคนิคการจำแบบเร่งด่วนก่อนเข้าสอบ เพื่อให้น้องๆ สามารถรับมือกับทุกการสอบที่กำลังหายใจรดต้นคอได้อย่างสบายๆ จะมีอะไรบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลย   admissionpremium.com 1. อ่านเมื่อร่างกายพร้อม ไม่ฝืนตัวเอง ไม่อ่านขณะง่วง เพราะจะทำให้เราอ่านไม่รู้เรื่องและไม่จำนั่นเอง 2. สภาพแวดล้อมต้องพร้อม ไม่มีสิ่งรบกวนให้เสียสมาธิ เช่น ปิดโทรศัพท์มือถือ ปิดโทรทัศน์ เพราะหากทำหลายอย่างพร้อมกันจะทำให้ประสิทธิภาพของการจดจำเนื้อหาลดลง 3. สรุปเรื่องที่อ่าน แล้วจำเป็นรูปภาพ ปกติแล้วมนุษย์จะจำเรื่องราวทั้งหมดเป็นรูปภาพ หลายๆ วิชาที่ไม่มีรูปภาพประกอบทำให้เราอ่านแล้วไม่สามารถจินตาการ หรือจดจำได้ ให้เพื่อนๆ สรุปเรื่องที่เราอ่านแล้ว นำมาทำเป็น My map เพื่อเชื่อมโยงในส่วนที่สัมพันธ์กัน และวาดให้เป็นความเข้าใจของตัวเอง จะทำให้จำได้แม่นขึ้น 4. แยกเป็นหมวดหมู่ ให้จัดเตรียมเอกสาร หนังสือ ชีทเรียนต่างๆ สำหรับแต่ละวิชาแยกเป็นหมวดหมู่ไว้ เพื่อเวลาที่เราอ่านวิชานี้เสร็จ เราจะได้หยิบ วิชาถัดไปมาอ่านได้ทันที   5. เน้นตะลุยโจทย์ให้เยอะไว้…

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) ไม่เชื่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับรู้โดยทันที รู้จักตั้งข้อสงสัยและคำถาม การสื่อสารความคิดต่าง (Communication) สามารถสื่อสารความคิดที่แตกต่างให้เข้าใจด้วยเหตุผลที่ดี การทำงานร่วมกัน (Collaboration) สามารถทำงานเป็นทีม รู้จักถกเถียง เจรรา ต่อรอง หาข้อยุติและร่วมมือกันทำงาน การสร้างนวัตกรรม (Innovation) สามารถคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม อันเนื่องจากการทำงานเป็นทีม ทักษะชีวิต (Life Skills) รู้จักกำหนดเป้าหมายและวางแผน รู้จักวางแผน มองไปข้างหน้า และรู้เป้าหมายของชีวิต รู้จักค้นหาทางเลือก ค้นหาทางเลือกที่มีมากกว่า 1 ทางเลือกเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ รู้จักตัดสินใจ กล้าตัดสินใจเพื่อเลือกหนทางไปสู่เป้าหมาย รู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองไม่โวยวางหรือโอดครวญ ว่าเป็นความผิดของผู้อื่น รู้จักทบทวนและรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำ รู้จักยืดหยุ่น หากเป้าหมายแรกที่วางไว้ผิดพลาดจะกลับไปวางแผน และมองหาทางเลือกใหม่เพื่อตัดสินใจ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Skills) รู้จักเสพข่าวสาร สามารถบริหารเวลา และชนิดของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ รู้จักวิเคราะห์ข่าวสาร สามารถตั้งคำถามและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ รวมทั้งค้นหาทางเลือกอื่น รู้จักใช้ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิต…

ไล่เรียงสาเหตุ ทำไมน้ำท่วมอุบลฯ

ไล่เรียงสาเหตุ ทำไมน้ำท่วมอุบลฯ หลังจากที่ผมได้เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่จังหวัดอุบลราชธานีอย่างใกล้ชิดมาหลายสัปดาห์ และได้พูดคุยหารือกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมอุบลฯ ในครั้งนี้ ผมขอสรุปให้ทุกคนเข้าใจอย่างง่าย ๆ ดังนี้ครับ… สาเหตุเกิดจากฝนที่ตกหนักจากพายุโพดุลและพายุคาจิกิ ทำให้จังหวัดอุบลฯ มีน้ำท่วมจากฝนตกหนักในพื้นที่ตนเอง และรับมวลน้ำที่หลากลงมาจากจังหวัดต่างๆ ผ่านแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ซึ่งไหลมาบรรจบกันที่จังหวัดอุบลฯ ก่อนไหลออกสู่แม่น้ำโขง เมื่อปริมาณน้ำที่ไหลมารวมกันในอุบลฯ มีปริมาณมาก ทำให้ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงอย่างช้าๆ ประกอบกับฝนที่ตกหนักในลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำมูลจากร่องมรสุมที่พาดผ่านเมื่อช่วง 7 วันที่ผ่านมา ได้ไหลลงมาเติมในแม่น้ำมูลสายหลัก ทำให้อัตราการลดลงชะลอตัว คาดว่าระดับน้ำจะลดลงสู่ตลิ่งในช่วงต้นเดือนตุลาคม เมื่อเรารู้ถึงสาเหตุแล้ว สิ่งที่สำคัญต่อจากนี้ คือในบทบาทหน้าที่ของอว.เราจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ประสบภัยอย่างไรต่อไป ? รอติดตามได้เลยครับ ที่มา : ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การเขียนโครงการแบบง่ายๆ

หลักการเขียนโครงการแบบง่ายๆ 6 หลักเพื่อการเขียนโครงการให้บรรลุ ทำอะไร? ทำไมต้องทำ? ทำแล้วได้อะไร? ทำอย่างไร? ใช้เงินเท่าไหร่? วัดผลอย่างไร? (การติดตามความก้าวหน้าโครงการ) เทคนิคการเขียนชื่อโครงการ ใช้ำคำกิริยา ให้ดูที่กิจกรรมหลักว่าเราต้องการจะทำอะไร กิจกรรมหลักมีมากกว่าหนึ่ง โดยใช้คำเหล่านี้ ได้แก่ พัฒนา ส่งเสริม เสริมสร้าง สร้างเสริม สนับสนุน เป็นต้น เขียนให้ชัดเจน ทำอะไร ทำให้ใคร เช่น ด้านการผลิต มักจะทำกับวัตถุ สิ่งของ ด้านการบริการส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา นักเรียน หรือประชาชนทั่วไป เป็นต้น เขียนให้สอดคล้องกับ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1.หลักการและเหตุผล 2. วัตถุประสงค์ 3. เป้ามหาย และ 4. กิจกรรม   มีกิจกรรมหลักเดียวใช้คำกิริยา เช่น ก่อสร้าง ปรับปรุง…

9 กระบวนทัศน์ เปลี่ยน Me-Society เป็น We-Society

9 กระบวนทัศน์ เปลี่ยน Me-Society เป็น We-Society ผมได้มาร่วมงาน CEO Innovation Forum 2019 ซึ่งจัดโดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อวานนี้( 26 ก.ย 62) ครับ ผมได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Empowering the Next Gens for Defining their Own Future” สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ครับ ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความกำกวม เราอยู่ในยุคที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างไม่เคยมีมาก่อน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในมนุษยชาติ เชื่อมต่อเป็นวงจร ซึ่งวงจรนี้จะเป็นวงจรอุบาทว์ หรือวงจรที่ทำให้โลกเราดีขึ้นนั้น อยู่ภายใต้มือของพวกเราครับ ในหลายศตวรรษที่ผ่านมา เรามุ่งเน้นสู่ “ยุคแห่งความทันสมัย” (Modernism) โดยยึดติดกับ…

สกว. เปลี่ยนเป็น สกสว. (TRF Transformation to TSRI)

Infographic : ทำไมต้องปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Infographic : Timeline การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Infographic : สกสว. ภายใต้โครงสร้าง สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Infographic : จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สู่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) Infographic : วัตถุประสงค์ของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ภายใต้การดำเนินงานของ สกสว. Infographic : การจัดสรรงบประมาณของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ภายใต้การดำเนินงานของ สกสว. ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)