เรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีผลต่ออนาคตคุณแค่ไหน

เมื่อไม่นานมานี้ มีกรณีอื้อฉาวในสหรัฐฯ ที่พ่อแม่ที่มีฐานะร่ำรวยหลายคนถูกกล่าวหาว่าจ่ายเงินติดสินบนเพื่อให้ลูกตัวเองได้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ คำถามที่ตามมาคือ มหาวิทยาลัยที่คุณเรียนมีผลต่อหน้าที่การงานคุณในอนาคตแค่ไหน งานวิจัยชี้ว่า ไม่มีผลมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มาจากพื้นเพที่ดีอยู่แล้ว พ่อแม่รวยหลายคนอาจจะใช้เวลา เงิน และพลังงานมหาศาล เพื่อที่จะให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัยดัง ๆ ได้ แต่ผลลัพธ์แทบจะจับต้องไม่ได้ เป็นเด็กที่มาจากพื้นเพที่ด้อยกว่าต่างหากที่จะได้ประโยชน์ที่สุดจากการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยดัง ๆ ส่องหลักสูตรออนไลน์ฟรีจาก 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก จัดอันดับโลก : จุฬาฯ-มหิดล ร่วง เอ็มไอที ครองแชมป์มหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลก ทำเนียบเมืองมหาวิทยาลัยโลก: ลอนดอนมาที่ 1 กรุงเทพฯ อยู่ที่ 54 ดัชนีดึงดูดคนเก่งโลก: สิงคโปร์ครองอันดับ 2 ส่วนไทยอยู่อันดับ 70 รายได้ในอนาคต เป็นเรื่องจริงที่เด็กจบใหม่จากมหาวิทยาลัยชั้นนำมีรายได้มากกว่า แต่นั่นเป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้ เพราะว่าเด็กที่ได้เกรดดีก็มีแนวโน้มจะได้รับเลือกเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำมากกว่าตั้งแต่แรก ข้อมูลงานวิจัยชี้ว่า เมื่อถึงช่วงอายุกลาง 30 ผู้ที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำจะได้รายได้มากกว่าทั้งคนที่เรียนในมหาวิทยาลัยชั้นรองกว่า รวมไปถึงเด็กที่มาจากพื้นเพที่ยากจนกว่า ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่ที่บ้านมีฐานะปานกลางและเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำได้รายได้โดยเฉลี่ยมากกว่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่ออายุ 34 ปี (มหาวิทยาลัยชั้นนำเหล่านี้ รวมถึงฮาวาร์ด…

ไบโอเทค จับมือ ศูนย์อาเซียนฯ เปิดตัวฐานข้อมูลจุลินทรีย์อาเซียน AmiBase

ศูนย์ไบโอเทค ร่วมกับ ศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เปิดตัวฐานข้อมูลจุลินทรีย์อาเซียน (AmiBase) หวังสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทางเทคโนโลยีชีวภาพในภูมิภาค ให้ก้าวไปสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2562 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity: ACB) เปิดตัว “ฐานข้อมูลจุลินทรีย์อาเซียน หรือ AmiBase (ASEAN Microbial Database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการรวบรวมข้อมูลของจุลินทรีย์ที่ค้นพบในอาเซียนไว้มากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้มีประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาทางเทคโนโลยีชีวภาพในภูมิภาค ให้ก้าวไปสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ   ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่งของโลกโดยเฉพาะความหลากหลายของจุลินทรีย์ ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และถือเป็นรากฐานความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมด้านอาหาร การแพทย์ การเกษตร และพลังงาน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพให้ทันกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยไบโอเทค สวทช. ได้ผนึกกำลังผสานความร่วมมือกับเครือข่ายอาเซียนด้านการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์(ASEAN Network on…