๓ ปี อว. กับความสำเร็จการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

๓ ปี อว. กับความสำเร็จการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีภารกิจหลักสำคัญ ๓ ด้าน คือ การสร้างคน สร้างองค์ความรู้ และ สร้างนวัตกรรม ของประเทศ ที่มุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ความสำเร็จอย่างรวดเร็ว จึงได้ดำเนินการปฏิรูปทั้งโครงสร้าง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รูปแบบและแนวทางการพัฒนา รวมทั้ง กลไกการบริหารจัดการที่จะขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในทุกมิติสู่เป้าหมายการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในบริบทการเป็นกระทรวงแห่งการปฏิบัติควบคู่กับกระทรวงแห่งการพัฒนาประเทศ ในโอกาสครบรอบ ๓ ปี วันสถาปนากระทรวง จึงจัดทำหนังสือที่ระลึก “๓ ปี อว. กับความสำเร็จการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ” โดยประมวลความสำเร็จใน ๓ การปฏิรูปหลัก ประกอบด้วย การปฏิรูปการพัฒนากำลังคนเพื่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การปฏิรูปและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน และ การปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาประเทศในทุกมิติ รวมทั้งการขับเคลื่อนประเทศในสถานการณ์ฉุกเฉินและเป็นแนวหน้าฝ่าฟันวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙…

รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565วันที่เผยแพร่ : 6 มกราคม 2565 ขนาดไฟล์ 7MB

แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ขึ้นตามหน้าที่และอำนาจในกฎหมายมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนให้ประเทศไทยได้ทรัพยากรบุคคลที่ตรงกับความต้องการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เติบโตท่ามกลางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 ฉบับสมบูรณ์จัดทำขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ “อุดมศึกษาสร้างคน สร้างปัญญา เพื่อพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน” โดยเน้นใน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. พัฒนาศักยภาพผลเฉพาะ (Capacity Building) 2. ส่งเสริมระบบนิเวศน์วิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem Building) 3. จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher Education Tranformation) ให้คนไทยเป็นคนดี เก่ง มีทักษะแห่งอนาคต แวดล้อมด้วยสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ในทุกช่วงของชีวิต มีระบบภาครัฐที่โปร่งใสปลอดทุจริตและคล่องตัวทันต่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศได้มากขึ้นเศรษฐกิจและสังคมเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ก้าวพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแผนการอุดมศึกษาฯ ได้ที่ https://drive.google.com/…/12UzeAe3h0DVrQkhhHB……

การพัฒนากำลังตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ Manpower Development

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา) : ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมหารือเรื่องการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Manpower Development) โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวง อว. ผู้บริหารภาคเอกชน อธิการบดี ผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมประชุม การประชุมหารือในครั้งนี้ มีการนำเสนอการผลิตและพัฒนากำลังคนหลักสูตร Non-degree และหลักสูตร Degree โดย อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์) ประธานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง) และประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ผศ.ดร.เรืองเดช วงศ์หล้า) และการนำเสนอข้อมูลส่วนของภาคเอกชน โดย ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์) รองนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งว่า การพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศมีความสำคัญมากในการพัฒนาประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ความต้องการบุคคลกรทั้งในและนอก EEC มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งกำลังขับเคลื่อนนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง…

โครงการอาสาประชารัฐ

ปรัชญาของโครงการ   บูรณาการยุทธศาสตร์ชาติ แผนอุดมศึกษาระยะยาว และแผนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มุ่งสร้างประชากรของโลกในศตวรรษที่ 21 ฯพณฯ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ” การเรียนที่แบบเป็น Lecture หรือ Case Study ที่มุ่งเน้นแต่การให้ความรู้เชิงทฤษฎีอย่างเดียว (Head) คงไม่เพียงพอ แต่จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือทำจริง (Head) การสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมให้คนเป็นคนดี (Heart) พร้อมกับมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง (Health) ซี่งท้ายที่สุดจะสร้างประชากรของโลกในศตวรรษที่ 21 (Global Smart Citizen in 21th Century)” "อาสาประชารัฐ" จะให้อะไรกับสังคมไทย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำคัญ แผนดำเนินงานและงบประมาณ สถาบันอุดมศึกษาจะเข้าร่วมโครงการได้อย่างไร? สถาบันอุดมศึกษาสามารถส่งข้อเสนอได้ทางเว็บไซต์โครงการอาสาประชารัฐ (http://hsmi2.psu.ac.th/par) ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2562 หน่วยงานงานรับผิดชอบ สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา…

ร่างกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. เพื่อการพัฒนา พ.ศ.2563-2570

เปิดที่มา (ร่าง)นโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ.2563 -2570 ชี้ทิศทางเตรียมคนไทยศตวรรษที่ 21 🌏👨‍🔬 ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563 -2570 ที่เห็นอยู่นี้คือกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้มีการสอดคล้องและเกิดการบูรณาการเพื่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยวิสัยทัศน์ “ เตรียมคนไทยแห่งศตวรรษที่ 21 พัฒนาเศรษฐกิจที่กระจายโอกาสอย่างทั่วถึง สังคมที่มั่นคงและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยสร้างความเข้มแข็งทางนวัตกรรมระดับแนวหน้าในสากล นำพาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว” ที่ผ่านมา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจึงออกแบบนโยบายและยุทธศาสตร์ ให้สามารถขับเคลื่อนได้โดยอาศัยการดำเนินงานในลักษณะแพลตฟอร์ม (Platform) ตามเป้าประสงค์ของการพัฒนา 4 ด้านประกอบด้วย 1. การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม 3. การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน 4. การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ โดยการดำเนินงาน 4 แฟลตฟอร์มนี้ ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ แบ่งเป็นระยะสั้น (1ปี) ระยะกลาง (3ปี) และระยะยาว (7ปี) ซึ่งหากแยกตัวชี้วัดที่สำคัญจะเห็นภาพของรายละเอียดดังนี้ ความสำเร็จด้านการพัฒนากำลังคนและองค์ความรู้ ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัดสำคัญ – จำนวนผู้เชี่ยวชาญ…

นโยบายการดำเนินงานของกระทรวง (ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์)

ดาวน์โหลดเอกสาร : นโยบายการดําเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในคราวการประชุมผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเมื่อวันพุธที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ที่มา : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

สถิติอุดมศึกษา ปีการศึกษา พ.ศ.2561

ดาวน์โหลดสถิติอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561 Higher Education Statistics 2018 ที่มา : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

รัฐบาลทุ่มงบวิจัยให้ สกสว.จัดสรรเพิ่ม 5 พันล้าน

รัฐบาลทุ่มงบวิจัยให้ สกสว.จัดสรรเพิ่ม 5 พันล้าน . “ดร.สุวิทย์” เผย รัฐบาล เห็นชอบงบด้านการวิจัย ให้ สกสว.จัดสรร เพิ่มอีก 5,106 ล้าน ให้กับโครงการ Flagship รวมเป็น 8,384 ล้านบาท รวมงบวิจัย ให้สกสว.จัดสรร 12,555 ล้านบาท . 19 ก.ย. 62 ที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานการประชุมในการหารือข้อราชการของผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. ครั้งที่ 9/2562 เพื่อหารือแนวทางการทำงานของกระทรวงในวาระเร่งด่วน หนึ่งในนั้นคือการชี้แจงงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ได้รับจัดสรรสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 . โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์…