Best Practice : กระบวนการวิเคราะห์ค่างานเพื่อก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง
แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เรื่อง “กระบวนการวิเคราะห์ค่างาน เพื่อก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการ” การวิเคราะห์ค่างาน หมายถึง กระบวนการวัดคุณค่าของตำแหน่ง โดยนำงานมาเปรียบเทียบกัน ภายใต้องค์ประกอบที่เป็นหลักเพื่อตีค่างานเป็นข้อมูลที่เป็นจริง เขียนวิเคราะห์งานที่ปฏิบัติมีขั้นตอนอย่างไรบาง ผ่านความเห็นชอบของใครบ้าง งานที่ปฏิบัติขั้นตอนใด ต้องผ่านตรวจสอบหรือไม่ผ่านการตรวจสอบ และงานที่ปฏิบัติต้องรายงานอย่างไร (เวลา) โดยมีกระบวนขั้นตอนดำเนินการดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง การประเมินค่างานเพื่อกำหนดระดับตำแหน่ง ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน พ.ศ. 2559 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งและการแต่งตั้นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น เพื่อให้ทราบหลักเกณฑ์การประเมินค่างานสำหรับตำแหน่งฯ ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง การประเมินค่างานเพื่อกำหนดระดับตำแหน่ง ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน พ.ศ. 2559 ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งและการแต่งตั้นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ขั้นตอนที่ 2 จัดทำแบบประเมินค่างานตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการและชำนาญการพิเศษ ตามแบบประเมินค่างานตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) กำหนด โดยการจัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่จะขอปรับปรุงการกำหนดระดับตำแหน่ง…