แทนคุณ วงค์ษร

ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2562

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ผศ.เจษฎา ความคุ้นเคย รองอธิการบดี เป็นประธานการประชุมการจัดทำข้อมูลการรายงานการติดตามผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมอุบลบุษย์ ชั้น 3 อาคารศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้การจัดทำรายงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกโครงการ โดยมีหัวข้อดังนี้ ที่มาของโครงการ Model การดำเนินงานของโครงการ ผลการดำเนินงานจากโมเดล ร้อยละของผลสำเร็จของโมเดล ร้อยละของการเบิกจ่ายงบประมาณ พื้นที่ดำเนินงาน กิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จุดเด่น ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาของโครงการ บูรณาการความร่วมมือ (Timeline) รูปภาพกิจกรรมการดำเนินงาน  

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบพนักงานราชการ ครั้งที่ 1/2562 ตำแหน่งนักวิชาศึกษา และตำแหน่งบรรณารักษ์

ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบทักษะความรู้ความสามารถทั่วไป และทดสอบทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการ ………………………………………………………… ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง การดำเนินการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเป็นพนักงานราชการ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ นั้น บัดนี้คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบเรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยจึงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบทักษะความรู้ด้านความสามารถทั่วไป และทดสอบทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการ ดังนี้ ๑. นักวิชาการศึกษา สังกัดงานมาตรฐานและจัดการคุณภาพ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าไม่ต่ำกว่านี้ ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป คอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑ อัตรา ๑๐๐๑   นางสาวศรัญญา กิวสันเทียะ ๑๐๐๒   นางสาวเยาวรัตน์ ชุมเศรียร ๑๐๐๓   นางสาวจิราวรรณ ผ่องศรี ๑๐๐๔   นางสาวบุษดี มั่งมีดี ๑๐๐๕   นางสาวนพวรรณ ชูขำ ๑๐๐๖   นางสาวอิงฟ้า สิงห์น้อย ๑๐๐๗   นางสาวณัฐวดี ปรีเปรม…

แนะ มรภ.ปรับตัวรับยุทธศาสตร์ใหม่ 20 ปี เสริมความเข้มแข็งให้ ทปอ.ราชภัฏ

ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ทำฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาท้องถิ่น   จากการนำเสนอรายงานการติดตามและวิจัยเชิงประเมินบทบาทและสัมฤทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต นำเสนอโดย ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และ ผศ.ดร.จิราทัศน์ รัตนมณีฉัตร โดย ศ.ดร.สมหวัง กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูล มรภ.ที่เป็นกรณีศึกษา 5 แห่ง ได้แก่ มรภ.นครราชสีมา, มรภ.เชียงราย, มรภ.ราชนครินทร์, มรภ.กาญจนบุรี และ มรภ.ภูเก็ต พบว่า มรภ.นครราชสีมา เป็น มรภ.เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่มีศักยภาพและสมรรถนะสูง ส่วนอีก 4 แห่งเป็น มรภ.เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่มีศักยภาพปานกลางค่อนข้างสูง และมีข้อค้นพบด้วยว่า ยุทธศาสตร์ใหม่ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มีบทบาททำให้ มรภ.ได้ทบทวนปรับปรุงและพัฒนายุทธศาสตร์ โดยน้อมนำพระราโชบายไปบูรณาการในการปรับยุทธศาสตร์และโครงสร้างการบริหาร ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น   คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า มรภ.ที่เป็นกรณีศึกษาหลายแห่งมีแผนยุทธศาสตร์ที่ไม่สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 และพระราโชบาย ดังนั้นสภา มรภ.พึงมีมติให้ มรภ.ปรับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยระยะ 5…

ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย สวก. ประจำปีงบประมาณ 2563

ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) มีความประสงค์ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 7 คลัสเตอร์ ดังนี้ 1) ข้าว 2) ปาล์มน้ำมัน 3) อาหาร 4) สมุนไพรไทย 5) พืชสวน/พืชไร่ 6) สัตว์เศรษฐกิจ และ 7) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 ท่านสามารถดูรายละเอียดยื่นข้อเสนอโครงการฯ และดาวน์โหลดแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการได้ที่ ยื่นขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 579 7435

สกศ. ประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นบทบาทและสัมฤทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

วันนี้ (๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒) เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สุภัทร จำปาทอง) เป็นประธานการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นบทบาทและสัมฤทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณจรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (นางสาวสมรัชนีกร อ่องเอิบ) ผู้บริหาร ครูอาจารย์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน จำนวน ๑๒๐ คน ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมราชา ๑ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ   ดร.สุภัทร จำปาทอง กล่าวว่า การพัฒนาการและการปรับเปลี่ยนบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๘ แห่งทั่วประเทศ ถือเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่น และมีเป้าหมายหลักชัดเจนในเรื่องเดียวกันคือ การพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานด้านผลิตบัณฑิต ผลิตงานวิจัย การบริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการพัฒนาในช่วง ๓-๔ ปี ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏได้ปรับยุทธศาสตร์ใหม่    ระยะ ๒๐ ปี พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙ โดยน้อมนำพระบรมราโชบายของพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว…

ประชุมกรรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการฯ ครั้งที่ 5/2562

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.30 น. ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน นางนงลักษณ์ สมณะ ได้รับมอบเป็นตัวแทนส่วนราชการจากอธิการบดี เข้าร่วมประชุมกรรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการฯ ครั้งที 5/2562 ณ ห้องประชุมหัวหลวง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี เพื่อติดตามการใช้งบประมาณ หมวดงบลงทุน ประจำปีงบประมาณ 2562 และทิศทางการดำเนินงานของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีหน่วยงานราชการในจังหวัดมาชี้แจงกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนมิถุนายน อาทิ การเตรียมการจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประจำปีพุทธศักราช 2562 วันที่ 3 มิถุนายน 2562 โดยสำนักงานจังหวัดปทุมธานี กิจกรรมพระราชทานเลี้ยงอาหารณ ณ สถานสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยนายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีวิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น การรายงานดำเนินโครงการ “1อำเภอ 1ถนนเฉลิมพระเกียรติ” เป็นต้น  

แบบฟอร์มรายงานผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ

หัวข้อ ที่มาของโครงการ Model การดำเนินงานของโครงการ ผลการดำเนินงานจากโมเดล ร้อยละของผลสำเร็จของโมเดล ร้อยละของการเบิกจ่ายงบประมาณ พื้นที่ดำเนินงาน กิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จุดเด่น ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาของโครงการ บูรณาการความร่วมมือ (Timeline) รูปภาพกิจกรรมการดำเนินงาน หมายเหตุ ข้อมูลเป็นเพียงตัวอย่างประกอบเท่านั้น ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงเนื้อหาภายในได้ โดยยึดตามหัวข้อข้างต้น Template รายงานโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏคลิกเพื่อดาวน์โหลด วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2562 | เวลา 11.50 น.

เรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีผลต่ออนาคตคุณแค่ไหน

เมื่อไม่นานมานี้ มีกรณีอื้อฉาวในสหรัฐฯ ที่พ่อแม่ที่มีฐานะร่ำรวยหลายคนถูกกล่าวหาว่าจ่ายเงินติดสินบนเพื่อให้ลูกตัวเองได้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ คำถามที่ตามมาคือ มหาวิทยาลัยที่คุณเรียนมีผลต่อหน้าที่การงานคุณในอนาคตแค่ไหน งานวิจัยชี้ว่า ไม่มีผลมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มาจากพื้นเพที่ดีอยู่แล้ว พ่อแม่รวยหลายคนอาจจะใช้เวลา เงิน และพลังงานมหาศาล เพื่อที่จะให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัยดัง ๆ ได้ แต่ผลลัพธ์แทบจะจับต้องไม่ได้ เป็นเด็กที่มาจากพื้นเพที่ด้อยกว่าต่างหากที่จะได้ประโยชน์ที่สุดจากการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยดัง ๆ ส่องหลักสูตรออนไลน์ฟรีจาก 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก จัดอันดับโลก : จุฬาฯ-มหิดล ร่วง เอ็มไอที ครองแชมป์มหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลก ทำเนียบเมืองมหาวิทยาลัยโลก: ลอนดอนมาที่ 1 กรุงเทพฯ อยู่ที่ 54 ดัชนีดึงดูดคนเก่งโลก: สิงคโปร์ครองอันดับ 2 ส่วนไทยอยู่อันดับ 70 รายได้ในอนาคต เป็นเรื่องจริงที่เด็กจบใหม่จากมหาวิทยาลัยชั้นนำมีรายได้มากกว่า แต่นั่นเป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้ เพราะว่าเด็กที่ได้เกรดดีก็มีแนวโน้มจะได้รับเลือกเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำมากกว่าตั้งแต่แรก ข้อมูลงานวิจัยชี้ว่า เมื่อถึงช่วงอายุกลาง 30 ผู้ที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำจะได้รายได้มากกว่าทั้งคนที่เรียนในมหาวิทยาลัยชั้นรองกว่า รวมไปถึงเด็กที่มาจากพื้นเพที่ยากจนกว่า ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่ที่บ้านมีฐานะปานกลางและเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำได้รายได้โดยเฉลี่ยมากกว่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่ออายุ 34 ปี (มหาวิทยาลัยชั้นนำเหล่านี้ รวมถึงฮาวาร์ด…

ไบโอเทค จับมือ ศูนย์อาเซียนฯ เปิดตัวฐานข้อมูลจุลินทรีย์อาเซียน AmiBase

ศูนย์ไบโอเทค ร่วมกับ ศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เปิดตัวฐานข้อมูลจุลินทรีย์อาเซียน (AmiBase) หวังสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทางเทคโนโลยีชีวภาพในภูมิภาค ให้ก้าวไปสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2562 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity: ACB) เปิดตัว “ฐานข้อมูลจุลินทรีย์อาเซียน หรือ AmiBase (ASEAN Microbial Database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการรวบรวมข้อมูลของจุลินทรีย์ที่ค้นพบในอาเซียนไว้มากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้มีประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาทางเทคโนโลยีชีวภาพในภูมิภาค ให้ก้าวไปสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ   ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่งของโลกโดยเฉพาะความหลากหลายของจุลินทรีย์ ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และถือเป็นรากฐานความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมด้านอาหาร การแพทย์ การเกษตร และพลังงาน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพให้ทันกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยไบโอเทค สวทช. ได้ผนึกกำลังผสานความร่วมมือกับเครือข่ายอาเซียนด้านการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์(ASEAN Network on…