บทความเกี่ยวข้องกับการศึกษา และด้านการวางแผน นโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย
9 กระบวนทัศน์ เปลี่ยน Me-Society เป็น We-Society ผมได้มาร่วมงาน CEO Innovation Forum 2019 ซึ่งจัดโดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อวานนี้( 26 ก.ย 62) ครับ ผมได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Empowering the Next Gens for Defining their Own Future” สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ครับ ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความกำกวม เราอยู่ในยุคที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างไม่เคยมีมาก่อน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในมนุษยชาติ เชื่อมต่อเป็นวงจร ซึ่งวงจรนี้จะเป็นวงจรอุบาทว์ หรือวงจรที่ทำให้โลกเราดีขึ้นนั้น อยู่ภายใต้มือของพวกเราครับ ในหลายศตวรรษที่ผ่านมา เรามุ่งเน้นสู่ “ยุคแห่งความทันสมัย” (Modernism) โดยยึดติดกับ…
www.gearstream.com OKRsเพื่อการพัฒนาประเทศ 🌏 ด้วยแนวทางการทำงานของกระทรวง อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พศ. 2563-2570 โดยมีการดำเนินภารกิจ ภายใต้ 4 แพลตฟอร์มการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ และ 16 โปรแกรมการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งมีการตัวกำกับชี้วัดด้วย Objectives and Key Results (OKRs) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) และ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จัดอบรมเรื่อง “Objectives and Key Results (OKRs) เครื่องมือในการวัดและพัฒนา” เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน โดยครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.นภดล ร่มโพธิ์ เมธีวิจัยอาวุโส สกสว. ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวชี้วัดองค์กร เป็นวิทยากรให้ความรู้ OKRs ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาจนถึงกลยุทธ์การใช้ให้เชี่ยวชาญ…
แนวโน้มความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต New S-Curve และทิศทางนโยบายการพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2563-2567 (Demand New S-Curve 2563-2567)สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
“นโยบายสร้างองค์ความรู้ ในอนาคตจะไม่ใช่การเรียนทฤษฎีแล้ว แต่เป็นองค์ความรู้ในทางปฏิบัตินำไปใช้งานได้จริง จะไม่ใช่แบบเรียนจบสี่ปีแล้วมาให้ปริญญา ต่อไปการให้ความสำคัญกับปริญญาจะน้อยลง มันจะเป็น non-degree แล้ว คือไม่ใช่พวกมาเรียนเพื่อต้องการปริญญา แต่มาเรียนแบบคอร์สระยะสั้น เป็นคอร์สที่มาเรียนเพื่อ upskill ตัวเอง ก็ต้องมาเทกคอร์สสักหนึ่งเดือนหรือ 3-6 เดือนเพื่อนำไปใช้งานจริง โลกในอนาคตเรื่องปริญญาจะไม่ใช่เรื่องสำคัญแล้ว และการสร้างองค์ความรู้ของประเทศไทยต้องเน้นไปที่การตอบโจทย์ด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ดังนั้นการวิจัยจึงเป็นเรื่องความสำคัญ” ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวในที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในโอกาสที่ได้รับเชิญไปร่วมหารือกับที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎและสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่า ตนได้เน้นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยและกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ซึ่งมหาวิทยาลัยมีส่วนสำคัญทั้งการสร้าง Manpower และ Brainpower ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปอุดมศึกษาทั้งระบบ เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถตอบโจทย์การขับเคลื่อนประเทศได้ สิ่งที่จะทำมีทั้งประเด็นแก้ปัญหาเร่งด่วนและการวางรากฐานระยะยาว ตามที่ผมได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนและติดตามนโยบายรัฐมนตรีฯ ขึ้นมา 1 ชุด นำโดย รศ. ดร. พีระพงศ์ ทีฆสกุล เพื่อหาแนวทางปลดล็อครวมถึงแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยมีเรื่องที่สำคัญ ๆ คือ ธรรมาภิบาล การกำหนดตำแหน่งวิชาการ มคอ. และคุณภาพมหาวิทยาลัย ขณะนี้คณะทำงานฯได้เสนอแนวทางที่จะปลดล๊อคในระยะเร่งด่วนแล้ว ดังนี้ครับ แนวทางที่จะประกาศทันที ตามที่คณะทำงานของผมได้พิจารณาร่วมกันดังนี้ 1. ชี้แจงแนวปฏิบัติ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา และเน้นย้ำว่า มคอ 3-7 สามารถดำเนินการได้โดยอยู่ในดุลยพินิจของสถาบัน แต่ต้องครอบคลุมมาตรฐานคุณภาพ 5 ด้านของ TQF(Thai…
VRU. Learning Recourses Development Strategies. Student Center Learning Spaces and Class Rooms Improvement ขยาย ปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเรียนรู้และห้องเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Equipment, Laboratory, Academy Center Development พัฒนาห้องปฏิบัติการ ศูนย์การเรียนรู้ และจัดหาครุภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Blended Learning Coureses Development and Implement พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนและจัดหารผลิตสื่อ ชุดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยตนเอง Lifelong learning paces and Upskill Short Courses Development พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อปวงชน ชุดการเรียนรู้/ฝึกอบรมยากระดับสมรรรถนะทักษะให้แก่ประชาชนคนทำงานผู้ต้องการเปลี่ยนอาชีพ Interdisciplinary and Collaborative Curriculums and Self paces Development (in & Out) พัฒนาหลักสูตร และชุดการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาการร่วมกันระหว่างคณะและ/หรือมีความร่วมมือกับสถานประกอบการ…
อ่านคำแถลงนโยบายจำนวน 80 หน้าของคณะรัฐมนตรี โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะแถลงต่อรัฐสภาในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2562 ดาวน์โหลดเอกสารคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี https://drive.google.com/file/d/1_g1phIjkERGninSWa7i8OD0R0Kog6JjK/view?usp=sharing ขอขอบคุณข้อมูลจาก -พรรคอนาคตใหม่-
กองพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้แจ้งเรื่องมาตรการด้านการงบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท ตามหนังสือเลขที่ นร 0505/ว590 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2561 ว่าเรื่องตามที่ได้ยืนยืน/แจ้งมติคณะรัฐมนตรี (28 สิงหาคม 2562) เกี่ยวกับเรื่อง ความสอดคล้องของแผนงาน/ดครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กับแผนแม่บทและแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี มาเพื่อทราบ สำนักงบประมาณได้เสนอเรื่อง มาตรการด้านการงบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนยุทะศาสตร์ชาติและแผนแม่บท ไปเพือดำเนินการ ดังที่คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 ลงมติว่า เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ให้สำนักงบประมาณได้รับยกเวนการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) มาตรการด้านการงบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทสำนักงบประมาณ 11 ธันวาคม 2561
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 อาจารย์ ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดี ได้มอบนโยบาย ทิศทางของวงการศึกษาไทย และการนำพามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือบ้านวไลยอลงกรณ์ ของเราไปในทิศทางเดียวกัน หัวข้อของการถ่ายทอดมีอยู่ 5 ประเด็น คือ 1. ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20ปี (RU. Strategic Initiative) 2. VRU Business Model 3. Quick Win Project to Reinventing VRU. 4. VRU Professional Development และ 5. The Future of University ท่ามกลางสภาวะวิกฤตของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยทั่วโลก ต่างก็ประสบปัญหาร่วมกัน อาทิเช่น…
ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ทำฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จากการนำเสนอรายงานการติดตามและวิจัยเชิงประเมินบทบาทและสัมฤทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต นำเสนอโดย ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และ ผศ.ดร.จิราทัศน์ รัตนมณีฉัตร โดย ศ.ดร.สมหวัง กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูล มรภ.ที่เป็นกรณีศึกษา 5 แห่ง ได้แก่ มรภ.นครราชสีมา, มรภ.เชียงราย, มรภ.ราชนครินทร์, มรภ.กาญจนบุรี และ มรภ.ภูเก็ต พบว่า มรภ.นครราชสีมา เป็น มรภ.เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่มีศักยภาพและสมรรถนะสูง ส่วนอีก 4 แห่งเป็น มรภ.เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่มีศักยภาพปานกลางค่อนข้างสูง และมีข้อค้นพบด้วยว่า ยุทธศาสตร์ใหม่ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มีบทบาททำให้ มรภ.ได้ทบทวนปรับปรุงและพัฒนายุทธศาสตร์ โดยน้อมนำพระราโชบายไปบูรณาการในการปรับยุทธศาสตร์และโครงสร้างการบริหาร ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า มรภ.ที่เป็นกรณีศึกษาหลายแห่งมีแผนยุทธศาสตร์ที่ไม่สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 และพระราโชบาย ดังนั้นสภา มรภ.พึงมีมติให้ มรภ.ปรับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยระยะ 5…